เรื่องเล่าจากศิษย์เก่า

มุมมองจากนักเรียนสู่ผู้นำการเปลี่ยนแปลง: เสริมพลังเยาวชนในเมืองแห่งการเรียนรู้

เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2567 ภาคีเพื่อการศึกษาไทย (Thailand Education Partnership) ได้จัดงาน "TEP Forum สร้างประเทศไทยเป็นสังคมการเรียนรู้ : เรียนรู้สู่สมรรถนะอย่างไร้รอยต่อ" เป็นเวทีที่ภาคีเครือข่ายการศึกษาได้ร่วมออกแบบแสดงความคิดเห็น และสะท้อนความต้องการจากผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ไปยังผู้กำหนดนโยบาย ในงานนี้ "บุ๊คบิ๊ก" เติมพงศ์ กิจจานุลักษ์ ศิษย์เก่าครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง รุ่นที่ 5 ได้ร่วมเป็นผู้พูด (speaker) ในช่วง TEP Talk ภายใต้หัวข้อ "มุมมองจากนักเรียนสู่ผู้นำการเปลี่ยนแปลง: เสริมพลังเยาวชนในเมืองแห่งการเรียนรู้" บอกเล่าเรื่องราวการเดินทาง 2 ปีในฐานะครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง ที่นำมาสู่การทำงานพัฒนาศักยภาพเยาวชนในปัจจุบัน

ทำไมจึงต้องพัฒนาตั้งแต่เนิ่น?

"วัยประถมเป็นจุดเริ่มต้นของชีวิตการศึกษา หากมีรากฐานที่ดีจะช่วยให้นักเรียนก้าวหน้า ในทางกลับกัน การขาดพื้นฐานดังกล่าวจะกลายเป็นความลำบากของเขา" เสียงสะท้อนจาก "ยี" อัมรีย์ สะแปอิง ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 10 ซึ่งสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2 และสอนวิชา EEC (โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก) ในระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 และ 3 ที่โรงเรียนวัดมาบข่า จังหวัดระยอง สอดคล้องกับการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคของนักเรียนในระดับประถมศึกษา ที่ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ได้รวบรวมจากหน่วยงานที่ทำงานเรื่องการศึกษา เด็ก และเยาวชน

ชีวิตที่ดีของเด็กไทย คือการร่วมใจของทุกคน

วันที่ 1 มิถุนายนของทุกปี เป็น "วันพ่อแม่สากล" (Global Day of Parents) ซึ่งถูกกำหนดขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติ (United Nations) เพื่อเฉลิมฉลองบทบาทของพ่อแม่ในการเลี้ยงดูและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชน ให้เติบโตขึ้นอย่างมีคุณภาพ ผู้ปกครองคือคนที่ใกล้ชิดกับเด็กและเยาวชนมากที่สุด เป็นบุคคลสำคัญที่มีอิทธิพลต่ออนาคตของนักเรียนในทุกด้าน "ส้มโอ" ภัทรธิดา สมรักษ์ ศิษย์เก่าทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ รุ่นที่ 7 สะท้อนประสบการณ์จากทำงานกับพ่อแม่ของนักเรียนอย่างใกล้ชิด ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังเข้าร่วมโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลง

ต้นกล้าที่แข็งแรง เติบโตได้จากเมล็ดพันธุ์คุณภาพ

วันครอบครัวสากล (International Day of Families) ตรงกับวันที่ 15 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันที่ก่อตั้งขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติ เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้และเห็นถึงความสำคัญของครอบครัว เพราะสังคมที่ดีเริ่มต้นได้จากครอบครัวที่อบอุ่น และครอบครัวยังเป็นส่วนสำคัญในการหล่อหลอมความคิดและการกระทำของเด็กให้เป็นไปในรูปแบบที่แตกต่างกันได้อีกด้วย

ทุกต้นทุนที่มี สร้างคุณค่าและความสำเร็จได้มากกว่าที่เห็น

"การศึกษาเปลี่ยนชีวิตคนได้ ทุกความเท่าเทียมเป็นไปได้ ถ้ามีครูช่วยผลักดัน" ด้วยความเชื่อนี้ "ครูอาร์ม" สุริยา มนัสสา จึงพาตัวเองเข้าสู่เส้นทางการเป็นครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 3 ของทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ด้วยความฝันอยากเป็นครู เมื่อได้มาเจอโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลง เขาพบว่าเป้าหมายของโครงการฯ ตรงกับเป้าหมายส่วนตัว คือ การสร้างความเปลี่ยนแปลงและความเท่าเทียมทางการศึกษา

7 ปี กับการเป็นกำลังหลักของ Teach For Thailand

"เอ็ม" - ธนิต แคล้วโยธา อดีตครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 3 เล่าถึงประสบการณ์ที่พลิกชีวิตและความเชื่อ ณ โรงเรียนเพี้ยนพินอนุสรณ์ ที่ทำให้เขาตัดสินใจร่วมเป็นกำลังสำคัญของมูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทย

ครูผู้สอนวิธีรู้ สู่ประสบการณ์เปลี่ยนชีวิต

"ครูเขาไม่ได้เดินเข้ามาสอนแล้วออกไป แต่เป็นครูในทุก ๆ สถานที่ ทุกช่วงเวลาของชีวิต" "บีท" นรากร แก้วมณี สะท้อนถึงประสบการณ์ 2 ปีเต็มที่ได้เรียนกับ "ครูแข" ภรปภัช พิศาลเตชะกุล และ "ครูกอล์ฟ" ศุภเกียรติ คุ้มหอยกัน ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 1 ที่โรงเรียนวัดสังฆราชา ซึ่งขณะนั้นบีทเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ให้ผู้หญิงได้ “นำ” เพื่อทำสังคมให้เท่าเทียม

วันสตรีสากล หรือ International Women's Day ตรงกับวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี เฉลิมฉลองความเป็นผู้หญิง และสร้างความตระหนักรู้ในประเด็นเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ สิทธิเกี่ยวกับบุตร และการต่อต้านความรุนแรงและการคุกคามผู้หญิง โดยมีการเฉลิมฉลองอย่างไม่เป็นทางการมาหลายครั้งในอดีต และได้รับการรับรองโดยกลุ่มสิทธิสตรี และโดยองค์การสหประชาชาติในปี 1977 ในบทความนี้ เราจะพาทุกท่านมารู้จักกับ ส้ม ดิว ไพลิน และพี ศิษย์เก่าของ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ที่ใช้บทบาททั้งความเป็นผู้หญิง และความเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนสังคม ปัจจุบันพวกเธอทำงานในสายงานของผู้นำในโรงเรียน นวัตกรรมทางสังคม และนโยบายการศึกษา เราได้พูดคุยกับพวกเธอในประเด็นเรื่องการศึกษา และภาวะผู้นำของผู้หญิง

ต่อยอดความเชื่อ สู่เครือข่ายพัฒนาศักยภาพเยาวชน

"ผมเชื่อในพลังของเครือข่ายศิษย์เก่าทีช ฟอร์ ไทยแลนด์มาตั้งแต่แรกแล้วว่า จะสามารถพัฒนาเด็กและเยาวชนด้วยกันได้ ขอเพียงมีพื้นที่และโอกาสที่จะได้ลงมือทำเท่านั้น" ข้อความข้างต้น คือคำตอบของ "บุ๊คบิ๊ก" เติมพงศ์ กิจจานุลักษ์ อดีตครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 5 เมื่อถูกถามถึงที่มาของแนวคิดการดึงศิษย์เก่าทีช ฟอร์ ไทยแลนด์มาร่วมพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา