10 ปีแห่งการสร้างผลกระทบในวงกว้าง

10 ปีแห่งบทพิสูจน์

“เรื่องสำคัญที่ผมจะมาพูดในวันนี้ คือการที่ ความฝัน ความหวัง และโอกาส ได้มาเชื่อมโยงกันจากการที่ทุกๆ คนได้เข้ามามีส่วนร่วมกับ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์” คุณวิเชียรกล่าว “10 ปีนี้เป็นบทพิสูจน์ความมุ่งมั่น ตั้งใจ ที่จะสร้างโอกาสให้แก่เด็กๆ และเป็นบทพิสูจน์ว่า ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ มีความพร้อมที่จะรับพันธกิจนี้ต่อไปอีกนาน” ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา มีความเกี่ยวข้องกับความเสียเปรียบทางเศรษฐกิจในหลายมิติ อาทิ เด็กจำนวนมากที่มีความเป็นอยู่ต่ำกว่ามาตรฐาน จะกลายเป็นเด็กในกลุ่มด้อยโอกาสและมีความเสี่ยงหลุดจากระบบการศึกษาเพิ่มขึ้น และหากหลุดจากระบบการศึกษา ก็จะส่งผลต่อความเป็นอยู่อีกทอดหนึ่ง

สร้างระบบ เพื่อผลกระทบที่กว้างกว่า

จากนิสิตวิศวกรรมศาสตร์ สาขาเครื่องกล ‘มิว’ -- วัชร เดโชพลชัย ศิษย์เก่า ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ รุ่นที่ 1 เล่าถึงผลกระทบที่เขาสร้างให้กับองค์กรและเด็กๆ ทั่วประเทศ ปัจจุบัน มิวทำงานในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายข้อมูลและผลกระทบเชิงบวก ของ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ และงานที่เขาภูมิใจ คือการสร้างระบบเพื่อจัดระเบียบข้อมูลจากครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงซึ่งทำงานในพื้นที่ต่างๆ เพื่อนำมาต่อยอดสร้างผลกระทบทางการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ

งานที่มีความหมาย คืองานที่เข้าถึงชีวิตเด็กๆ มากขึ้น

กว่า 10 ปีที่ผ่านมา ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ได้สร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษามาแล้วหลายรุ่น ศิษย์เก่าหลายคนได้ทำงานสร้างผลกระทบทางการศึกษาต่อในฐานะพนักงานขององค์กรเพื่อการศึกษา ทั้งทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ และองค์กรภาคีอื่นๆ หนึ่งในนั้น คือ ‘มิ้นท์’ – ภารดี เลิศวริทธิ์ อดีตพนักงานฝ่ายสรรหาและคัดเลือกผู้นำการเปลี่ยนแปลง ของ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์

เติมเต็มการศึกษา เปลี่ยนห้องเรียนจากพลังของครูสังคม

โครงการพัฒนาเครือข่ายผู้นำครูสังคมศึกษา (Social Studies Program) คือโครงการที่ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ เริ่มขึ้นเพื่อสร้างเครือข่ายการเรียนรู้เชิงวิชาชีพและยกระดับงานของครูวิชาสังคมในโรงเรียน รวมถึง สานต่อเครือข่ายกับครูผู้นำของทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ เราเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงการศึกษาที่ยั่งยืนต้องมีความร่วมมือจากผู้นำทุกภาคส่วน โดยเฉพาะคุณครูในระบบ เราจึงเริ่มต้นโครงการนี้เมื่อปี 2564 ปัจจุบัน 12 จังหวัดที่เข้าร่วมในโครงการ และเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดในห้องเรียน ในบทความนี้ เราได้สัมภาษณ์ ‘ครูรัตนชาติ สาระโป’ จากโรงเรียนบ้านแม่งอนขี้เหล็ก จังหวัดเชียงใหม่ และ ‘ครูสุทธาสินีย์ ฉวีศักดิ์’’ จากโรงเรียนราชินีบูรณะ จังหวัดนครปฐม คุณครูทั้งสองได้เข้าร่วมกิจกรรมสิบปีแห่งการเปลี่ยนแปลงของ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ในเดือนพฤศจิกายน ปีที่แล้ว และได้ให้สัมภาษณ์ถึงโครงการพัฒนาเครือข่ายผู้นำครูสังคมศึกษาและสิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้ไว้อย่างน่าสนใจ

เข้าใจปัญหาโลก ให้นักเรียนวิพากษ์อย่างแหลมคม

“การเข้า ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ทำให้เรามองปัญหาอย่างเป็นโครงสร้างมากขึ้น เข้าใจข้อจำกัดและรู้ว่าปัญหาแต่ละอย่างเหมือนโดมิโน่ที่ส่งผลกระทบถึงกัน เช่นเดียวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม เราเลยต้องหาวิธีสื่อสารให้คนเข้าใจง่ายที่สุด และกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง”

สร้างความเปลี่ยนแปลง โดยเน้นชุมชนเป็นศูนย์กลาง

ระหว่าง “กิจกรรมสร้างวิสัยทัศน์ร่วม” ที่โรงเรียนห้วยกระเจาพิทยาคม ในวันที่ 20 กรกฎาคม 2566 สมาชิกชุมชนห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี ได้สะท้อนและแสดงความเห็นถึงอนาคตทางการศึกษาในชุมชนของตนเอง เวทีนี้เป็นเวทีที่ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ จัดขึ้นเพื่อให้คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ และออกแบบการศึกษาคุณภาพตามที่พวกเขาใฝ่ฝัน (อ่านบทความเกี่ยวกับการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมได้ ที่นี่)

เสียงสะท้อนจากโรงเรียนและชุมชน สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

“บนเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวันนั้น ทำให้โรงเรียนเห็นว่าแต่ละฝ่ายมีความต้องการอะไร ต้องขอขอบคุณ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ที่ถอดบทเรียนความต้องการของทุกคนออกมา” ผอ. ภัทรนันท์ เพิ่มพูน ผู้อำนวยการโรงเรียนห้วยกระเจาพิทยาคม จังหวัดกาญจนบุรี ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2566

ความสำเร็จเริ่มจากเปลี่ยนคนหนึ่งคน

“หลายคนอาจตั้งความหวัง อยากเปลี่ยนแปลงภาพใหญ่ แต่เราแค่อยากเปลี่ยนแปลงเด็กให้ได้อย่างน้อย 1 คน การเปลี่ยนแปลงต้องใช้เวลา ถ้าเราสามารถเปลี่ยนได้สัก 1 คนก็ถือว่าสำเร็จแล้ว” นี่คือคำตอบจากธาม ณัฐชนน โรจน์วัลลี ศิษย์เก่าโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลง รุ่นที่ 6 เมื่อถูกถามว่า ในการสมัครเข้ามาในโครงการนี้ เขาคาดหวังอะไร

ส่งต่อความฝัน

แม้ครูเท็น-ศิริลักษณ์ สุทธิช่วย ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่น 7 จะก้าวขาออกมาจากโรงเรียนชิตใจชื่นได้เกือบสองปีแล้ว แต่เธอยังอยู่ในความทรงจำของนักเรียนของเธอตลอดมา โดยเฉพาะ ข้าวกล้อง เด็กชายผู้ใฝ่อยากเป็นนักมายากล และได้รับแรงบันดาลใจจากครูเท็นจนกล้ากลับมาเล่นมายากลอีกครั้งหลังจากยกเลิกความตั้งใจเพราะโดนเพื่อนล้อ