ผู้นำ
ที่เราตามหา

สำหรับเรา ภาวะความเป็นผู้นำ คือ การลงมือทำ
เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อวิสัยทัศน์ร่วมที่มี
ต่อนักเรียนในระยะยาว ซึ่งประกอบด้วย 2 มิติ ได้แก่
1) คุณลักษณะที่เราพึงมีในบทบาทของ ‘ผู้นำ’
2) การฝึกฝนเพื่อพัฒนาผ่านทฤษฎีความเป็นผู้นำ

ผู้นำ
ที่เราตามหา

สำหรับเรา ภาวะความเป็นผู้นำ คือ การลงมือทำ
เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อวิสัยทัศน์ร่วมที่มี
ต่อนักเรียนในระยะยาว ซึ่งประกอบด้วย 2 มิติ ได้แก่
1) คุณลักษณะที่เราพึงมีในบทบาทของ ‘ผู้นำ’
2) การฝึกฝนเพื่อพัฒนาผ่านทฤษฎีความเป็นผู้นำ

ผู้นำ
ที่เราตามหา

สำหรับเรา ภาวะความเป็นผู้นำ คือ การลงมือทำ เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อวิสัยทัศน์ร่วมที่มี ต่อนักเรียนในระยะยาวซึ่งประกอบด้วย 2 มิติ ได้แก่
1) คุณลักษณะที่เราพึงมีในบทบาทของ ‘ผู้นำ’
2) การฝึกฝนเพื่อพัฒนาผ่านทฤษฎีความเป็นผู้นำ

ทฤษฎีความเป็นผู้นำ

คือ กรอบการปฎิบัติงานที่ใช้ในการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมเพื่อเป็นแนวทางในการทำงานรวมถึงเป็นพื้นที่ในการพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำ ทัังในระดับตนเอง ห้องเรียน และชุมชน

ตนเอง
(Self)

การกระทำของครูผู้นำฯ ที่แสดงออกถึงความเป็นผู้นำของตนเองในด้านต่าง ๆ

ห้องเรียน
(Classroom)

การกระทำของครูผู้นำฯ ที่ส่งเสริมนักเรียนให้มีความเป็นผู้นำในด้านต่าง ๆ ผ่านห้องเรียน

ชุมชน
(Community)

การกระทำของครูผู้นำฯ ที่ส่งเสริมให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของนักเรียนมีความเป็นผู้นำในด้านต่าง ๆ ผ่านการทำงานระดับโรงเรียนและชุมชน

การพัฒนาความเป็นผู้นำ ตลอด 2 ปี

ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์เชื่อว่า การพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำในบริบทที่ท้าทายจะนำไปสู่การเติบโตจากภายใน การเข้าใจบริบท และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อโรงเรียนและชุมชน ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงจะพัฒนาตัวเองผ่าน 70% เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำด้วยตนเองและการเรียนรู้เเบบเพื่อนช่วยเพื่อน ในขณะที่ 20% มาจากการโค้ชชิ่ง/การให้คำปรึกษา และ 10% จากการเข้ารับอบรม

รูปแบบกิจกรรมพัฒนาความเป็นผู้นำ ประกอบไปด้วย

  • การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวทางการพัฒนาตนเองแบบ โค้ชชิ่ง กับเจ้าหน้าที่พัฒนาศักยภาพความเป็นผู้นํา
  • การประชุมเป็นวงแลกเปลี่ยนการเรียนรู้กับครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงในบริบทใกล้เคียง (Learning Circle, Peer Classroom Observation)
  • กิจกรรมส่งเสริมการทำงานร่วมกับชุมชน
  • โครงการอบรมจากทีมงานและแขกรับเชิญ เช่น บุคลากรหรือเจ้าหน้าที่จากเครือข่ายพันธมิตรขององค์กร รวมถึงโอกาสจากตัวแทนสมาชิก ในเครือข่ายทีช ฟอร์ ออล (Teach for All)
  • กิจกรรมเตรียมความพร้อมก่อนปฎิบัติหน้าที่ 6-8 สัปดาห์
TEACH_FOR_THAILAND_0039
TEACH_FOR_THAILAND_0052

ทำไมการเปลี่ยนแปลง
ถึงต้องเริ่มต้นจากการสอน?

เนื่องจากโรงเรียนเปรียบเสมือนภาพสะท้อนปัญหาที่ซับซ้อนของสังคม หากเราต้องการ "ผู้นำ" ที่จะสามารถขับเคลื่อนและแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เขาเหล่านั้นควรมีความเข้าใจ เรียนรู้ และสร้างวิสัยทัศน์ในการพัฒนาร่วมกับนักเรียน บุคลากรในโรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ผ่านประสบการณ์จริง เพื่อนำภาวะความเป็นผู้นำไปขับเคลื่อนให้เกิดผลกระทบเชิงบวกของสังคมต่อไป