เรื่องเล่าจากห้องเรียน

 “Class ชวนคุย” ทำความรู้จักนักเรียนในบริบทท้าทาย

“ความท้าทายของโรงเรียน คือความจำเป็นต่าง ๆ ของครอบครัวนักเรียน ที่ทำให้พวกเขาไม่สามารถเรียนได้อย่างต่อเนื่อง” “ครูบี” นภัสสรร์ สวยสด ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง รุ่นที่ 10 ของทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ แบ่งปันเรื่องราวจากประสบการณ์ที่ได้เข้าไปสอนในโรงเรียน “ที่นี่ นักเรียนหลายคนมีปัญหาจากทางบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการที่พ่อแม่แยกทางกัน ปัญหาความยากจน หรือแม้กระทั่งยาเสพติด ทำให้หลายคนขาดเรียนหรือออกจากระบบการศึกษาไป” ในฐานะ “ครูคนใหม่” ในโรงเรียนนี้ ครูบีมองว่าการชักชวนให้เด็ก ๆ ยังเห็นความสำคัญของการศึกษา คือสิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรก เธอจึงเลือกทุ่มเทเวลาในการเตรียมการสอนของตัวเอง เพื่อให้บทเรียนกระชับ นักเรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายและจัดสรรเวลาเพื่อออกแบบการสอนแนว “Class ชวนคุย”

เปลี่ยนความท้าทาย ให้กลายเป็นพลังพัฒนา

“ปกติแล้ว ครูคนอื่นมองนักเรียนกลุ่มนี้ว่าเงียบ ถามอะไรไม่ค่อยตอบและไม่ค่อยเข้าร่วมกิจกรรม แต่อิ๋มมองว่าเขามีศักยภาพที่ไม่ได้เอาออกมาใช้ ถ้าได้โอกาสลองน่าจะทำได้” ‘อุ๋มอิ๋ม’ – อาลดา สิงหามาตย์ ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 10 เล่าถึงหนึ่งในความท้าทายหลังจากเข้าโรงเรียนไม่นาน นั่นคือการพานักเรียนในประจำชั้น 5 คน เข้าประกวดนำเสนอโครงงานโรงเรียนคุณธรรมซึ่งจัดโดยมูลนิธิยุวพัฒน์ ประกอบไปด้วยการทำโครงการ การนำเสนอโครงการ และการตอบคำถาม

ครูร้านกาแฟ

ตามทฤษฎีความเป็นผู้นำของทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ การค้นหา “ที่ยืนเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง” จะทำให้การส่งเสริมการศึกษาเพื่อเด็กทุกคนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตัวอย่างของการนำทฤษฎีนี้ไปใช้ คือ เรื่องราวของ ฟร้อง-ณัฏฐา ริมฝาย ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 9 ซึ่งแสดงให้เห็นชัดว่า การค้นหาที่ยืน สามารถสร้างความเป็นผู้นำให้แก่คุณครูในโครงการ ฯ และส่งเสริมการศึกษาที่มีคุณภาพให้กับนักเรียนได้อย่างไร

สะท้อนการเปลี่ยนแปลง สร้างแรงบันดาลใจให้ครูพี่เลี้ยง

งานของครูพี่เลี้ยงไม่ได้หมายถึงการให้คำแนะนำแก่ครูผู้นำฯ เท่านั้น เพราะหลายครั้ง ครูพี่เลี้ยงก็ได้เรียนรู้บางอย่างจากครูผู้นำฯ ด้วย เช่นเรื่องราวของ ครูตู่ ครูหมู และครูติ๊ดตี่ ครูพี่เลี้ยงทั้งสามคนในบทความนี้ “ครูแพรวมีวิธีการสอนที่เข้าใจเด็ก เด็กคนไหนเรียนรู้ได้เยอะก็สนับสนุน เด็กกลุ่มไหนเรียนรู้ช้า ก็จะค่อยๆ สอนจากขั้น 1 ไป 2 ทำให้เด็กตามคนอื่นทัน และไม่หงุดหงิดเวลาเด็กตามไม่ทัน เห็นน้องพยายามเข้าใจความต่างของนักเรียน เราก็คิดว่าบางทีเราก็ไม่เข้าใจเวลาเด็กทำไม่ได้ แต่จริงๆเด็กแค่มีความสามารถในการเรียนรู้ไม่เท่ากัน”

ครูผู้นำฯ ที่สร้างวัฒนธรรมการเปลี่ยนแปลง

“วันแรกผมยังทักอยู่เลยว่า ตัวเล็กๆแบบนี้เด็กจะเกเรใส่มั้ย” ผอ. ศิริพงษ์ จำใช้ ผู้อำนวยการโรงเรียนชิตใจชื่น ขำปนเอ็นดู เมื่อเล่าถึงวันแรกที่ได้เจอกับครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงของ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ “แต่พอได้ไปสอน พลังเสียงเขาแน่นมาก โดยเฉพาะน้องฝน เสียงดังชัดเจน คุมเด็กๆได้” โรงเรียนชิตใจชื่นที่ ผอ. ศิริพงษ์ดูแลอยู่ ตั้งอยู่ในจังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดเล็กๆทางภาคตะวันออกที่ได้รับเลือกให้เป็นจังหวัดยุทธศาสตร์ ที่ร่วมมือกับ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์อย่างเหนียวแน่น ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ได้ส่งครูผู้นำไปยังจังหวัดนี้มาแล้วหลายรุ่น และโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุงอีกโรงเรียนหนึ่งในพื้นที่นี้ ก็ได้ทำงานกับครูผู้นำฯมาแล้ว 2 รุ่น คือ รุ่น 7 และรุ่น 9

ครูสร้างครู

“เราเข้าใจว่าความลำบากมันเป็นยังไง เพราะเราลำบากมาก่อน” เป็นเหตุผลที่ดึงดูดให้ ฝน-บุปผา พงศ์ชนะ ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่น 9 ได้มารู้จักกับ แพรวรุ่ง แม้นรัตน์ และ กนกวรรณ วินัย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนชิตใจชื่น ที่เธอทราบมาว่าครอบครัวของนักเรียน 2 คนนี้มีความยากจนอย่างมาก

นักออกแบบเพื่อเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทย

สมัยเรียนอยู่ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต้น-สรรสร้าง ช่วยชู ได้มีโอกาสทำค่ายอาสาที่โรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล และได้รู้จักกับปัญหาการศึกษาในรูปแบบต่างๆ ทั้งนักเรียนที่เสี่ยงหลุดออกจากระบบการศึกษา เพราะไม่เข้าใจว่าจะเรียนไปเพื่ออะไร โรงเรียนที่ไม่มีทั้งงบและไม่มีทั้งครู และครอบครัวที่ไม่สามารถสนับสนุนให้ลูกหลานเรียนสูงได้ เพราะไม่มีกำลังทรัพย์ เมื่อได้เห็นภาพสะท้อนของปัญหาการศึกษาไทยในเบื้องต้นแล้ว ต้นจึงเกิดความสงสัยและเข้าร่วมโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 8 เพื่อหาต้นตอของความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาไทย

เดินออกจากพื้นที่ปลอดภัย เพื่อเติบโตและพัฒนาตัวเอง

ก่อนหน้าที่จะมาเข้าร่วมโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับมูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์นั้น ปัทม์-รุจิกร พันธรักษ์ ยอมรับตามตรงว่าเป็นคนไม่ชอบความท้าทาย และมักจะทำสิ่งเดิมๆ ที่ตัวเองถนัดเสมอมา แต่หลังจากที่เรียนจบและได้รู้จักกับโครงการผู้นำฯแล้ว ปัทม์ก็ฉุกคิดขึ้นมาได้ว่า หากชีวิตนี้ไม่ลองท้าทายตัวเอง ไม่ลองกล้าออกจากพื้นที่ปลอดภัย เขาก็จะไม่มีการเติบโตและการพัฒนาใดๆ ยิ่งเมื่อได้ไปศึกษารายละเอียดโครงการผู้นำฯ และพบว่ามีแนวทางในการพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำผ่านการเป็นครูโดยไม่จำเป็นต้องจบครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์แล้วด้วย ปัทม์จึงไม่รอช้า ส่งใบสมัครเข้ามาเป็นหนึ่งในครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 8 ทันที

จากคณะเศรษฐศาสตร์ สู่ครูคณิตศาสตร์ ผู้สร้างแรงบันดาลใจ

สมัยเรียนอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น ซิวเวอร์-ณัฐพงษ์ ปฐมพรชัยวงษ์ มีโอกาสได้ออกค่ายอาสาเพื่อทำงานกับเด็กในจังหวัดต่างๆอยู่บ่อยครั้ง และเขาพบว่ามีเด็กอีกมากมายที่ยังหาตัวเองไม่เจอ ซึ่งประสบการณ์นี้ทำให้เขาต้องย้อนคิดถึงประสบการณ์ของตัวเขาเอง ผู้ซึ่งกว่าจะเข้าใจถึงความสำคัญในการค้นหาตัวเอง ก็เมื่อเรียนจบปริญญาตรีไปแล้ว “ผมก็เป็นคนนึงที่เรียนตามสังคมบอกมา ตอนเลือกคณะนี่แทบไม่ได้เลือก ผมเลือกตามเพื่อน เผอิญสอบได้ก็เรียนมา แต่ก็เริ่มสงสัยว่าทำไมเราไม่ได้ค้นหาตัวเองตั้งแต่ตอนเรียนนะ ทำไมไม่มีใครมาบอกเรา เลยรู้สึกว่าอยากจะเป็นคนคนนั้นให้นักเรียน ที่ช่วยให้เด็กรู้ว่าโลกนี้มันกว้างใหญ่แค่ไหน แล้วตัวตนของเขาควรจะอยู่ตรงไหนในโลกใบนี้” หน้าที่หลักของซิวเวอร์ในค่ายอาสาจึงเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กๆ ซึ่งเขาพบว่า “เราชอบอะไรแบบนี้ พอได้เห็นประกายในตาเด็กแล้วมันมีความสุข”