ทุกการ
เปลี่ยนแปลง
มีเรื่องราว

รวบรวมเรื่องเล่าจากห้องเรียน
โดยคุณครูทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ และสมาชิก
ในชุมชนของเรา ข่าวสาร และกิจกรรม

ทุกการ
เปลี่ยนแปลง
มีเรื่องราว

รวบรวมเรื่องเล่าจากห้องเรียน
โดยคุณครูทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ และสมาชิก
ในชุมชนของเรา ข่าวสาร และกิจกรรม

ทุกการ
เปลี่ยนแปลง
มีเรื่องราว

รวบรวมเรื่องเล่าจากห้องเรียน
โดยคุณครูทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ และสมาชิก
ในชุมชนของเรา ข่าวสาร และกิจกรรม

ติดตามข่าวสารการศึกษา

“การสอนคือการสร้างอนาคต (I touch the future, I teach)” – Christa McAuliffe ครูและนักบินอวกาศชาวอเมริกัน

การเป็นครูเป็นมากกว่าแค่การให้ความรู้ แต่คือการเปลี่ยนแปลงนักเรียนจากภายใน ครูที่ดีสามารถช่วยให้นักเรียนบรรลุศักยภาพสูงสุดของตนเอง หรือแม้แต่เปลี่ยนแปลงชีวิตนักเรียนได้ แต่งานของครูนั้นไม่ง่ายและต้องการการสนับสนุนจากทุกฝ่าย เนื่องในโอกาสวันครู ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ขอนำเสนออีกหนึ่งโครงการ ที่สนับสนุนครู เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในห้องเรียนของตนเองได้สำเร็จ

It Takes a Village to Raise a Child

“It takes a village to raise a child” เป็นคำกล่าวที่ทั้งคุณวิชิตพล ผลโภค และคุณสราวุฒิ อยู่วิทยา เอ่ยถึงเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการอบรมครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่น 10 ณ TK Park ห้างเซ็นทรัลเวิร์ล 10 ปีที่ผ่านมาของมูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ทำให้ CEO ขององค์กรอย่างคุณวิชิตพล เข้าใจดีถึงความยากลำบากในการสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและศึกษาของเด็กไทย “การเป็นครูมันไม่ใช่เรื่องที่ง่าย ถ้ามันเป็นเรื่องที่ง่ายเราคงไม่ต้องมี Teach For Thailand การเป็นครูคือการสร้างคนรุ่นใหม่ที่จะพัฒนาตัวเองและพัฒนาสังคมของเราได้ … และเมื่อเข้าไปในโรงเรียน มันจะไม่ใช่แค่ครูผู้นำฯคนเดียวที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตนักเรียน มันต้องร่วมมือกับผู้ปกครอง กับครูคนอื่น กับผอ. กับชุมชน”

เรื่องเล่าจากห้องเรียน

 “Class ชวนคุย” ทำความรู้จักนักเรียนในบริบทท้าทาย

“ความท้าทายของโรงเรียน คือความจำเป็นต่าง ๆ ของครอบครัวนักเรียน ที่ทำให้พวกเขาไม่สามารถเรียนได้อย่างต่อเนื่อง” “ครูบี” นภัสสรร์ สวยสด ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง รุ่นที่ 10 ของทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ แบ่งปันเรื่องราวจากประสบการณ์ที่ได้เข้าไปสอนในโรงเรียน “ที่นี่ นักเรียนหลายคนมีปัญหาจากทางบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการที่พ่อแม่แยกทางกัน ปัญหาความยากจน หรือแม้กระทั่งยาเสพติด ทำให้หลายคนขาดเรียนหรือออกจากระบบการศึกษาไป” ในฐานะ “ครูคนใหม่” ในโรงเรียนนี้ ครูบีมองว่าการชักชวนให้เด็ก ๆ ยังเห็นความสำคัญของการศึกษา คือสิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรก เธอจึงเลือกทุ่มเทเวลาในการเตรียมการสอนของตัวเอง เพื่อให้บทเรียนกระชับ นักเรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายและจัดสรรเวลาเพื่อออกแบบการสอนแนว “Class ชวนคุย”

เปลี่ยนความท้าทาย ให้กลายเป็นพลังพัฒนา

“ปกติแล้ว ครูคนอื่นมองนักเรียนกลุ่มนี้ว่าเงียบ ถามอะไรไม่ค่อยตอบและไม่ค่อยเข้าร่วมกิจกรรม แต่อิ๋มมองว่าเขามีศักยภาพที่ไม่ได้เอาออกมาใช้ ถ้าได้โอกาสลองน่าจะทำได้” ‘อุ๋มอิ๋ม’ – อาลดา สิงหามาตย์ ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 10 เล่าถึงหนึ่งในความท้าทายหลังจากเข้าโรงเรียนไม่นาน นั่นคือการพานักเรียนในประจำชั้น 5 คน เข้าประกวดนำเสนอโครงงานโรงเรียนคุณธรรมซึ่งจัดโดยมูลนิธิยุวพัฒน์ ประกอบไปด้วยการทำโครงการ การนำเสนอโครงการ และการตอบคำถาม

ครูร้านกาแฟ

ตามทฤษฎีความเป็นผู้นำของทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ การค้นหา “ที่ยืนเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง” จะทำให้การส่งเสริมการศึกษาเพื่อเด็กทุกคนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตัวอย่างของการนำทฤษฎีนี้ไปใช้ คือ เรื่องราวของ ฟร้อง-ณัฏฐา ริมฝาย ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 9 ซึ่งแสดงให้เห็นชัดว่า การค้นหาที่ยืน สามารถสร้างความเป็นผู้นำให้แก่คุณครูในโครงการ ฯ และส่งเสริมการศึกษาที่มีคุณภาพให้กับนักเรียนได้อย่างไร

สะท้อนการเปลี่ยนแปลง สร้างแรงบันดาลใจให้ครูพี่เลี้ยง

งานของครูพี่เลี้ยงไม่ได้หมายถึงการให้คำแนะนำแก่ครูผู้นำฯ เท่านั้น เพราะหลายครั้ง ครูพี่เลี้ยงก็ได้เรียนรู้บางอย่างจากครูผู้นำฯ ด้วย เช่นเรื่องราวของ ครูตู่ ครูหมู และครูติ๊ดตี่ ครูพี่เลี้ยงทั้งสามคนในบทความนี้ “ครูแพรวมีวิธีการสอนที่เข้าใจเด็ก เด็กคนไหนเรียนรู้ได้เยอะก็สนับสนุน เด็กกลุ่มไหนเรียนรู้ช้า ก็จะค่อยๆ สอนจากขั้น 1 ไป 2 ทำให้เด็กตามคนอื่นทัน และไม่หงุดหงิดเวลาเด็กตามไม่ทัน เห็นน้องพยายามเข้าใจความต่างของนักเรียน เราก็คิดว่าบางทีเราก็ไม่เข้าใจเวลาเด็กทำไม่ได้ แต่จริงๆเด็กแค่มีความสามารถในการเรียนรู้ไม่เท่ากัน”

ครูผู้นำฯ ที่สร้างวัฒนธรรมการเปลี่ยนแปลง

“วันแรกผมยังทักอยู่เลยว่า ตัวเล็กๆแบบนี้เด็กจะเกเรใส่มั้ย” ผอ. ศิริพงษ์ จำใช้ ผู้อำนวยการโรงเรียนชิตใจชื่น ขำปนเอ็นดู เมื่อเล่าถึงวันแรกที่ได้เจอกับครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงของ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ “แต่พอได้ไปสอน พลังเสียงเขาแน่นมาก โดยเฉพาะน้องฝน เสียงดังชัดเจน คุมเด็กๆได้” โรงเรียนชิตใจชื่นที่ ผอ. ศิริพงษ์ดูแลอยู่ ตั้งอยู่ในจังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดเล็กๆทางภาคตะวันออกที่ได้รับเลือกให้เป็นจังหวัดยุทธศาสตร์ ที่ร่วมมือกับ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์อย่างเหนียวแน่น ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ได้ส่งครูผู้นำไปยังจังหวัดนี้มาแล้วหลายรุ่น และโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุงอีกโรงเรียนหนึ่งในพื้นที่นี้ ก็ได้ทำงานกับครูผู้นำฯมาแล้ว 2 รุ่น คือ รุ่น 7 และรุ่น 9

ครูสร้างครู

“เราเข้าใจว่าความลำบากมันเป็นยังไง เพราะเราลำบากมาก่อน” เป็นเหตุผลที่ดึงดูดให้ ฝน-บุปผา พงศ์ชนะ ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่น 9 ได้มารู้จักกับ แพรวรุ่ง แม้นรัตน์ และ กนกวรรณ วินัย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนชิตใจชื่น ที่เธอทราบมาว่าครอบครัวของนักเรียน 2 คนนี้มีความยากจนอย่างมาก

เรื่องเล่าจากศิษย์เก่า

ครูผู้สอนวิธีรู้ สู่ประสบการณ์เปลี่ยนชีวิต

“ครูเขาไม่ได้เดินเข้ามาสอนแล้วออกไป แต่เป็นครูในทุก ๆ สถานที่ ทุกช่วงเวลาของชีวิต“ ‘บีท’ — นรากร แก้วมณี สะท้อนถึงประสบการณ์ 2 ปีเต็มที่ได้เรียนกับ ‘ครูแข’ ภรปภัช พิศาลเตชะกุล และ ‘ครูกอล์ฟ’ ศุภเกียรติ คุ้มหอยกัน ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 1 ที่โรงเรียนวัดสังฆราชา ซึ่งขณะนั้นบีทเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ให้ผู้หญิงได้ ‘นำ’ เพื่อทำสังคมให้เท่าเทียม

วันสตรีสากล หรือ International Women’s Day ตรงกับวันที่ 8 มีนาคมของทุกปี เฉลิมฉลองความเป็นผู้หญิง และสร้างความตระหนักรู้ในประเด็นเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ สิทธิเกี่ยวกับบุตร และการต่อต้านความรุนแรงและการคุกคามผู้หญิง โดยมีการเฉลิมฉลองอย่างไม่เป็นทางการมาหลายครั้งในอดีต และได้รับการรับรองโดยกลุ่มสิทธิสตรี และโดยองค์การสหประชาชาติในปี 1977 ในบทความนี้ เราจะพาทุกท่านมารู้จักกับ ส้ม ดิว ไพลิน และพี ศิษย์เก่าของ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ที่ใช้บทบาททั้งความเป็นผู้หญิง และความเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนสังคม ปัจจุบันพวกเธอทำงานในสายงานของผู้นำในโรงเรียน นวัตกรรมทางสังคม และนโยบายการศึกษา เราได้พูดคุยกับพวกเธอในประเด็นเรื่องการศึกษา และภาวะผู้นำของผู้หญิง

ต่อยอดความเชื่อ สู่เครือข่ายพัฒนาศักยภาพเยาวชน

“ผมเชื่อในพลังของเครือข่ายศิษย์เก่าทีช ฟอร์ ไทยแลนด์มาตั้งแต่แรกแล้วว่า จะสามารถพัฒนาเด็กและเยาวชนด้วยกันได้ ขอเพียงมีพื้นที่และโอกาสที่จะได้ลงมือทำเท่านั้น” ข้อความข้างต้น คือคำตอบของ ‘บุ๊คบิ๊ก’ – เติมพงศ์ กิจจานุลักษ์ อดีตครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 5 เมื่อถูกถามถึงที่มาของแนวคิดการดึงศิษย์เก่าทีช ฟอร์ ไทยแลนด์มาร่วมพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

กล้าลองสิ่งใหม่ ในโลกที่ผู้หญิงก้าวสู่ความเท่าเทียม

เชื่อไหมว่าในโลกใบนี้มีวันสำหรับเฉลิมฉลองความเป็นผู้หญิงในวงการวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะ และวันนั้นก็คือ วันสตรีและเด็กหญิงในวงการวิทยาศาสตร์สากล หรือ International Day of Women and Girls in Science ซึ่งตรงกับวันที่ 11 กุมภาพันธ์ของทุกปี วันนี้มีขึ้นเพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้หญิงในแวดวงวิทยาศาสตร์

ทำงานกับชุมชน: โครงการไม้ไผ่สู่ผลกระทบที่ยั่งยืนในชุมชน

“โครงการนี้ไม่ได้เริ่มจากไม้ไผ่ แต่เป็นโครงการสร้างคน พัฒนาคน” ครูทิ้ง ศุภชัย บำรุง ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 7 กล่าวถึง “ยุ้มมาฉ่า” โครงการแปรรูปไม้ไผ่ที่เขาริเริ่มกับเพื่อน ๆ ที่ชุมชนป่าซางนาเงิน จังหวัดเชียงราย “โครงการนี้เกิดจากช่วงปีแรก มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงมอบหมายให้ครูในพื้นที่หาวิธีสร้างการเรียนรู้แบบ Problem-based Learning (PBL) เน้นการประยุกต์ใช้ทักษะศตวรรษที่ 21 และการเรียนรู้แบบมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และต้องมีความเกี่ยวข้องกับการเกษตรด้วย”

ต่อเชื้อไฟให้แก่ระบบการศึกษา พันธกิจของศิษย์เก่า

ระยะเวลา 2 ปี ในโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลง เป็นเวลามากพอที่ใครบางคนจะได้ทำความเข้าใจปัญหาการศึกษา และเป็นระยะเวลาที่ทำให้ศิษย์เก่าที่จบจากโครงการฯ มีแรงบันดาลใจทำงานในวงการการศึกษาต่อไป เช่นเรื่องราวของกรีน และซีม ที่ตัดสินใจเปิดโรงเรียนเอกชนในจังหวัดบ้านเกิดของตนเอง “ตอนนั้นผมตั้งเป้าว่าจะเปิดโรงเรียนเป็น Home School ให้ได้ภายใน 5 ปี ตอนนี้ 4 ปีปลายก็สามารถตั้งได้แล้ว และยังมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ กลุ่มวิชาต่างๆ ที่ดูเป็นที่ต้องการมาเสริมอีก”