เรื่องเล่าจากศิษย์เก่า

ขอบคุณที่ครูเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

"ขอบคุณที่เข้ามาเป็นครูของ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ขอบคุณที่มาเป็นครูจิ๊บของหนู รักครูค่ะ" นักเรียนคนหนึ่งของครูจิ๊บสะท้อนให้ได้ยินเมื่อเรากำลังจะจบบทสนทนาและบอกลากัน นักเรียนคนนี้เป็นนักเรียนของครูจิ๊บ ศิษย์เก่าฯ รุ่นที่ 2 ส่วนของมิ้นท์เหมือนกันแต่เป็นรุ่นที่ 3 ในจุดหนึ่งของชีวิต ทั้งสองได้โคจรมาพบกันระหว่างที่ครูจิ๊บสอนอยู่ที่โรงเรียนแก่นทองอุปภัมภ์ จ.กรุงเทพ และประสบการณ์ของความเป็นครู 2 ปีนั้นได้สัมผัสใจของนักเรียนนับร้อยคน

สร้างได้ทุกอย่าง แม้เริ่มจากความไม่รู้

ถ้าเราสร้างบางอย่างจากสิ่งที่คนต้องการอยู่แล้ว เช่น อยากสร้างสระว่ายน้ำ เพราะมีคนอยากว่ายน้ำ มันไม่ยาก แต่การสร้างอะไรบางอย่างจากสิ่งที่คนไม่รู้ว่าตัวเขาเองก็ต้องการ เป็นสิ่งที่ท้าทายยิ่งกว่า

นักกำหนดอาหาร ที่ขอกำหนดชะตาชีวิตตัวเอง

ช่วงที่มด-ธมนวรรณ อั๋นประเสริฐ เรียนอยู่ที่คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลนั้น เธอได้มีโอกาสไปฝึกงานในโรงพยาบาล และให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยในเรื่องของโภชนาการอยู่บ่อยครั้ง แต่ประสบการณ์การฝึกงาน กลับทำให้เธอพบว่ายังมีผู้คนอีกมากมาย ที่ขาดความรู้พื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต เมื่อผนวกกับความต้องการส่วนตัวในการพัฒนาทักษะใหม่ให้แก่ตนเองเพื่อนำมาต่อยอดในอาชีพการงานแล้ว เธอจึงนึกถึงโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลง และตัดสินใจสมัครเข้าร่วมโครงการฯในรุ่นที่ 6 ทันที

บ่มเพาะทักษะผู้นำ ทำงานได้ในทุกองค์กร

ทักษะความเป็นผู้นำ และทักษะอื่นๆที่ได้จากการเป็นครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง เป็น Soft Skill ที่สามารถประยุกต์ใช้ได้ทุกที่ ศิษย์เก่าของ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์หลายคนได้นำทักษะเหล่านี้ไปใช้กับงานต่างๆ ในบทความนี้ เราจะมาทำความรู้จักศิษย์เก่า 2 คน คือ คุณทิพย์ และ คุณเผอิญ ที่ทำงานในบริษัทเอกชน และได้นำประสบการณ์จากการลงพื้นที่ 2 ปี ไปใช้พัฒนางานของพวกเธอ

เดินออกจากพื้นที่ปลอดภัย ก้าวข้ามขีดจำกัด เพื่อค้นหาตัวเอง

ที่จริงแล้วเส้นทางการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงของ ปอย-ธัญญาภรณ์ ศรีดวงจันทร์ นั้นเต็มไปด้วยความบังเอิญ ปอยไม่ได้เริ่มต้นด้วยการมองตัวเองว่ามีความเป็นผู้นำเสียเท่าไรนัก การสมัครเข้าร่วมโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลงเป็นเพียงกิจกรรมที่เธอทำร่วมกับเพื่อนในช่วงที่เพิ่งศึกษาจบจากคณะวิทยาศาสตร์ สาขาสถิติจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ปอยไม่ได้คาดหวังว่าจะผ่านการคัดเลือก แต่ทีมงานมูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์กลับเล็งเห็นถึงศักยภาพที่ซ่อนอยู่ในตัวเธอ ทำให้เธอผ่านกระบวนการคัดเลือกสุดเข้มข้นในท้ายที่สุด

ล้อมวงศิษย์เก่าทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ถกประเด็นการศึกษาไทยร่วมกับกรุงเทพมหานคร

กิจกรรม TFT Roundtable Talk ที่มูลนิธิทีช ฟอร์ไทยแลนด์ ได้จัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 25 มีนาคม 2566 นั้น มีเป้าหมายสำคัญคือการเปิดพื้นให้คนที่มีประสบการณ์ตรงจากหน้าห้องเรียนอย่างกลุ่มศิษย์เก่าทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ได้มาร่วมกับแบ่งปันประสบการณ์ และมุมมองเกี่ยวกับการศึกษาไทย อันจะนำไปสู่หนทางในการหาความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาในระดับประเทศต่อไป ซึ่งมูลนิธิฯ ได้รับเกียรติจากคุณศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เข้าร่วมวงสนทนากับ คุณวิชิตพล ผลโภค ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารมูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ศิษย์เก่าฯ กว่า 10 ชีวิต และกลุ่มผู้สมัครโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 10

จากครู (ผู้นำการเปลี่ยนแปลง) สู่ด็อกเตอร์

?ถ้าไปทำงานอื่น คงไม่ได้กลับมาแล้ว? เป็นเหตุผลว่าทำไม เมี่ยว -ศิรินทร์ ตั้งพรไพบูลย์ ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 2 เมี่ยวมองว่าการเป็นครูผู้นำนั้น นอกจากจะได้ทำอะไรที่ท้าทาย และตอบโจทย์ความสนใจในการศึกษาส่วนตัวแล้วนั้น ยังเป็นการพัฒนาความเป็นผู้นำของตัวเองที่จะเพิ่มโอกาสในการก้าวกระโดดในอาชีพการงานในอนาคต ดังนั้น เมื่อจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะเศรษฐศาสตร์ ภาคอินเตอร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้วนั้น เธอจึงไม่ลังเลที่จะเข้าร่วมโครงการทันที

สร้างการเปลี่ยนแปลงในแบบของตัวเอง

แม้ จ๋าแพรวพรรณ วาสวกุล จะจบการศึกษาปริญญาตรีจากคณะศิลปศาสตร์ เอกอังกฤษ-อเมริกันศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งไม่ได้เป็นคณะที่มีความเกี่ยวข้องกับการศึกษาโดยตรง แต่จ๋ากลับร่วมหลากหลายกิจกรรมที่สร้างบันดาลใจให้เธอเข้าสู่วงการการศึกษาตั้งแต่สมัยอยู่มหาวิทยาลัย

Parents’ Voice: ครอบครัว ครูผู้นำ บันดาลใจ

ก่อนจะเข้าไปเป็นครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง ผู้สมัครหลายคนต้องสื่อสารให้ครอบครัวรู้เป็นอันดับแรก ว่ามีความตั้งใจจะเข้าไปคลุกกับปัญหาการศึกษาไทยเป็นระยะเวลา 2 ปี และเนื่องจากการลงพื้นที่ของครูผู้นำฯ ไม่ใช่งานสบายนัก ผลตอบรับที่ได้จึงมีทั้งในเชิงสนับสนุนและไม่สนับสนุน