เรื่องเล่าจากศิษย์เก่า

ต่อเชื้อไฟให้แก่ระบบการศึกษา พันธกิจของศิษย์เก่า

ระยะเวลา 2 ปี ในโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลง เป็นเวลามากพอที่ใครบางคนจะได้ทำความเข้าใจปัญหาการศึกษา และเป็นระยะเวลาที่ทำให้ศิษย์เก่าที่จบจากโครงการฯ มีแรงบันดาลใจทำงานในวงการการศึกษาต่อไป เช่นเรื่องราวของกรีน และซีม ที่ตัดสินใจเปิดโรงเรียนเอกชนในจังหวัดบ้านเกิดของตนเอง ?ตอนนั้นผมตั้งเป้าว่าจะเปิดโรงเรียนเป็น Home School ให้ได้ภายใน 5 ปี ตอนนี้ 4 ปีปลายก็สามารถตั้งได้แล้ว และยังมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ กลุ่มวิชาต่างๆ ที่ดูเป็นที่ต้องการมาเสริมอีก?

Alumni Board กาวเชื่อมศิษย์เก่าผู้นำฯ เพื่อเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทย

นอกจากที่มูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์จะมีปฏิสัมพันธ์กับเครือข่ายศิษย์เก่าผู้นำการเปลี่ยนแปลงแล้ว ทางศิษย์เก่าฯด้วยกันเอง ก็มีการรวมตัวกันและก่อตั้ง Alumni Board ขึ้นมาเพื่อเมื่อต้นปี 2021 เพื่อกระชับความสัมพันธ์ในหมู่ศิษย์เก่าฯ และสร้างผลกระทบเชิงบวกให้แก่การศึกษาไทยด้วยตนเอง

ดิว-สุคนธา นิลหยก ศิษย์เก่าฯ รุ่นที่ 7 ที่เป็น ความภูมิใจของเรา

ดิวเป็น 1 ในคนไทย 20 คนที่ได้รับทุน Chevening จากกว่า 70,000 ใบสมัครจากทั่วทุกมุมโลก และกำลังจะเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยระดับโลกอย่าง University of Oxford ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ไม่แปลกใจที่ดิวมีวันนี้ เพราะหากย้อนกลับไปในช่วง 2 ถึง 3 ปีที่ผ่านมา เชื่อว่าไม่มีชาวทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ คนไหนที่ไม่เคยได้ยินชื่อของดิว

ต่อยอดจากชุมชน เพื่อค้นหาที่ทางของตนเอง

ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงทุกคนมีไฟฝัน พวกเขาอยากเข้าใจการศึกษาในพื้นที่ให้ดีขึ้นกว่าเดิม แต่การเปลี่ยนแปลงนั้น หลายครั้งไม่จำเป็นต้องเริ่มจากศูนย์ ข้อคิดนี้เราได้จากการคุยกับ คุณป่านแก้ว - ป่านแก้ว บุญใบชัยพฤกษ์ ครูผู้นำฯ ของ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ รุ่น 7 ซึ่งได้ทำงานเป็นครูในโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลง 2 ปี ที่โรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง และเป็นครูต่ออีกครึ่งปี ก่อนไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

งานนี้มีความหมาย เด็กอักษรฯ เอกการละคร ผู้อยากเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทย

"เรียนจบไปแล้วจะไปทำไรอ่ะ?" เป็นคำถามที่ถูกโยนกลับมาเมื่อครั้งที่นิสิตจุฬาฯปี 2 ที่ชื่อ มิ้นท์-ภารดี เลิศวริทธิ์ กลับบ้านไปประกาศกร้าวว่า "ฉันจะเรียนเอกการละครที่คณะอักษร" ความเป็นห่วงเป็นใยของพ่อแม่ในอนาคตการทำงานของลูกสาว ทำให้เกิดการทะเลาะกันใหญ่โต แต่มิ้นท์เองก็สู้ไม่ถอย โดยเธอเล่าว่า "มิ้นท์ก็ไปขายเค้าแหละ ว่ามันไม่ได้สำคัญหรอกว่าจบคณะไหน สายไหน เพราะถ้าเรารู้จักที่จะเอาความรู้และทักษะมาประยุกต์กับการทำงาน ยังไงก็หางานได้ ยังไงลูกก็มีงานทำ จงเชื่อในตัวเรา เพราะเราก็เชื่อในตัวเองว่า ไม่ว่าจะจบอะไร เดี๋ยวหางานได้ ? เค้าก็เลยยอม?"

คุณค่าของหนึ่งชีวิตที่ได้เป็นผู้ลงมือทำ

สำหรับ หนุงหนิง-ณัฐชญา แดนโพธิ์ แล้ว เพียงแค่ความรู้และความเข้าใจในปัญหาของสังคมไทยนั้นถือว่ายังไม่เพียงพอ เพราะหากให้นั่งไล่เรียงว่าปัญหามีอะไรบ้าง และนำเสนอวิธีการแก้ไขนั้น เธอเชื่อว่ามีหลายคนที่พร้อมออกความเห็น แต่ "จะมีสักกี่คน ที่พร้อมจะลงมือทำจริง?" หลังจากที่หนุงหนิงได้ศึกษาจบจากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เธอจึงไม่รอช้าที่จะหาโอกาสเป็นคนลงมือทำ และเริ่มต้นหาข้อมูลของหลากหลายองค์กรที่ทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาสังคม จนได้มารู้จักกับมูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ และโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลง

ขอบคุณที่ครูเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

"ขอบคุณที่เข้ามาเป็นครูของ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ขอบคุณที่มาเป็นครูจิ๊บของหนู รักครูค่ะ" นักเรียนคนหนึ่งของครูจิ๊บสะท้อนให้ได้ยินเมื่อเรากำลังจะจบบทสนทนาและบอกลากัน นักเรียนคนนี้เป็นนักเรียนของครูจิ๊บ ศิษย์เก่าฯ รุ่นที่ 2 ส่วนของมิ้นท์เหมือนกันแต่เป็นรุ่นที่ 3 ในจุดหนึ่งของชีวิต ทั้งสองได้โคจรมาพบกันระหว่างที่ครูจิ๊บสอนอยู่ที่โรงเรียนแก่นทองอุปภัมภ์ จ.กรุงเทพ และประสบการณ์ของความเป็นครู 2 ปีนั้นได้สัมผัสใจของนักเรียนนับร้อยคน

สร้างได้ทุกอย่าง แม้เริ่มจากความไม่รู้

ถ้าเราสร้างบางอย่างจากสิ่งที่คนต้องการอยู่แล้ว เช่น อยากสร้างสระว่ายน้ำ เพราะมีคนอยากว่ายน้ำ มันไม่ยาก แต่การสร้างอะไรบางอย่างจากสิ่งที่คนไม่รู้ว่าตัวเขาเองก็ต้องการ เป็นสิ่งที่ท้าทายยิ่งกว่า

นักกำหนดอาหาร ที่ขอกำหนดชะตาชีวิตตัวเอง

ช่วงที่มด-ธมนวรรณ อั๋นประเสริฐ เรียนอยู่ที่คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลนั้น เธอได้มีโอกาสไปฝึกงานในโรงพยาบาล และให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยในเรื่องของโภชนาการอยู่บ่อยครั้ง แต่ประสบการณ์การฝึกงาน กลับทำให้เธอพบว่ายังมีผู้คนอีกมากมาย ที่ขาดความรู้พื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต เมื่อผนวกกับความต้องการส่วนตัวในการพัฒนาทักษะใหม่ให้แก่ตนเองเพื่อนำมาต่อยอดในอาชีพการงานแล้ว เธอจึงนึกถึงโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลง และตัดสินใจสมัครเข้าร่วมโครงการฯในรุ่นที่ 6 ทันที