เรื่องเล่าจากห้องเรียน

คุณค่าของ “ประสบการณ์” จากโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลง

ในช่วงปี 4 ก่อนที่จะเรียนจบ ก้านตองได้มีโอกาสไปสอนพิเศษให้กับน้อง ๆ แถวบ้านที่จังหวัดนครปฐม จากความตั้งใจแรกที่เพียงอยากไปลองหาประสบการณ์ ก้านตองกลับชื่นชอบการสอนอย่างจริงจัง จึงเริ่มต้นหาช่องทางที่จะเป็นครู ประกอบกับที่ก้านตองเองเป็นคนที่ชอบทำกิจกรรมจิตอาสามาก ๆ ทำให้ได้เคยไปออกค่ายอาสาต่าง ๆ จึงได้เห็นความเหลื่อมล้ำทางด้านการศึกษาของสังคมไทยที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น นี้เป็นอีกหนึ่งแรงผลักดันที่ทำให้อยากลองมาเป็นครู เพื่อที่จะหาช่องทางในการช่วยพัฒนาสังคมไทยและชุมชนของตนเอง จนได้มาพบกับโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลงของมูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ที่เปิดโอกาสให้เด็กคณะวิทย์อย่างก้านตองได้มาลองสนามจริงผ่านบทบาท ครู เป็นเวลาเต็ม ๆ ถึง 2 ปี

“การก้าวออกจาก Comfort zone สู่ การเดินทางแห่งการพัฒนา”

ชนิษฐ์ภัค ภูมิสูง (ไอเซ็น) นักศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์ เอกชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในช่วงมหาวิทยาลัย ไอเซ็นใช้เวลาส่วนหนึ่งในการสอนและพัฒนาศักยภาพนักเรียนผ่านการสอนพิเศษ ไอเซ็นมองว่าสเน่ห์ของการสอนคือการที่ได้ถ่ายทอดความรู้ หรือทริคในการเข้าใจเนื้อหาต่าง ๆ และทำให้เขาไปถึงเป้าหมายที่พวกเขาตั้งไว้ ถ้าย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นของเส้นทางการเปลี่ยนแปลง เรามองว่าการศึกษาคือรากฐานของการพัฒนาประเทศ ซึ่งการศึกษาไทยยังมีหนทางอีกยาวไกลในการพัฒนา เราเลยอยากเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการศึกษาไทยให้ไปได้ไกลกว่านี้ รวมถึงอยากใช้โอกาสนี้ในการเสริมสร้างทักษะและประสบการณ์ให้เด็ก ๆ ในโรงเรียนขยายโอกาสอีกด้วย

Collective Vision (วิสัยทัศน์ร่วม): การศึกษาในชุมชนต้องไปต่อได้ แม้ไม่มี Teach For Thailand

?เคยมีปัญหาเรื่องการสื่อสาร อย่างเช่น ครูกับ ผ.อ. ไม่ถูกกัน ซึ่งมีอยู่แล้วในทุกโรงเรียน ครูเองก็แสดงความคิดเห็นแรงๆในบางเรื่อง ส่วน ผ.อ. ก็ใส่สุดในบางเรื่อง ก็ต้องตกลงกันก่อนว่า เราในฐานะคนอยู่หน้าเวที หรือน้องๆ Fellow ที่ต้องนำกิจกรรม จะทำยังไงให้เขาแลกเปลี่ยนความเห็นกันได้?

การเติบโตของผู้นำการเปลี่ยนแปลง สู่ ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ห้องเรียนของทุกคน

เนื้อแพร พรหมหิตร (นุ่มนิ่ม) จบการศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์ ภาคเคมี จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย นอกเหนือจากการเป็นหัวหน้าภาควิชาแล้ว อีกหนึ่งบทบาทที่นุ่มนิ่มใช้เวลาและความทุ่มเทในการลงมือทำก็คือการสอนพิเศษ ตลอดระยะเวลา 4-5 ปีที่นุ่มนิ่มสอน นุ่มนิ่มรู้สึกมีแรงบันดาลใจและพลังในการทำให้นักเรียนของเขาทุกคนไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ เรารู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จของพวกเขาเหล่านั้น และเราเองได้มีโอกาสไปทำค่ายอาสา ทำให้เราเห็นถึงความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ว่ายังมีเด็กไทยอีกมากที่ยังไม่เข้าถึงการศึกษา เราเลยอยากเป็นคนหนึ่งที่ลงมือ และเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเด็ก ๆ กลุ่มนี้บ้าง

เมื่อการศึกษายุคนี้ต้องใช้การเข้าถึง เข้าใจ และกฎแห่งแรงดึงดูด

บทสนทนาที่น่าเอ็นดูและน่าขบขันระหว่างครูและนักเรียนผ่านแอปพลิเคชันอินสตาแกรมว่าด้วยเรื่องของข้อเสียของการกินขนมซึ่งถือเป็นอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ สู่การหาหนทางแก้ไขว่าปัญหานี้จะหมดไปได้ถ้าหาก ครูซื้อมาแบ่งนักเรียน และปิดท้ายลงด้วย ความหวังดี

Parental Engagement … ผู้ปกครองสัมพันธ์ จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง

Teach For Thailand มีเป้าหมายในการยุติความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาในประเทศไทยผ่านการสร้างเครือข่ายผู้นำที่เข้มแข็ง ผ่านการสรรหาบุคคลที่มีความสามารถเพื่อทำงานร่วมกับชุมชนเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในห้องเรียนและชีวิตของนักเรียน

ทักษะและเส้นทางอาชีพของเยาวชนในศตวรรษที่ 21

อาชีพในศตวรรษที่ 21 ไม่ได้มีคำจำกัดความที่ชัดเจนและเข้าใจง่ายเหมือนอาชีพที่เรารู้จักมานาน เช่น หมอ ทหาร ตำรวจ พยาบาล ครู ฯลฯ แต่อาชีพในยุคปัจจุบันมีความซับซ้อน หลากหลาย และต้องอาศัยทักษะที่ต่างกันไป ยังมีอาชีพอีกมากมายที่เด็กๆ หรือแม้แต่ผู้ใหญ่เองก็ยังไม่รู้จัก ซึ่งการแนะแนวให้เยาวชนรู้จักอาชีพที่หลากหลายและทักษะต่างๆ ที่จำเป็นเหล่านี้ ย่อมสร้างโอกาสในการเรียนรู้ ออกแบบและวางแผนเส้นทางชีวิตของพวกเขาเองได้ในอนาคต

“Community Selection” จุดเริ่มต้นการมีส่วนร่วมของชุมชนในกิจกรรม การคัดเลือกผู้นำการเปลี่ยนแปลง

เสียง - ที่สะท้อนออกมาจากการที่ มูลนิธิฯ รับฟังต่อชุมชนคือ พวกเขาต้องการครูที่ เข้าใจ ต่อบริบท และสามารถทำงานให้สอดคล้องกับความต้องการในพื้นที่นั้น ๆ ได้ ดังนั้น เสียงและมุมมองที่มาจากพวกเขานั้นจึงเป็นตัววัดความเข้าใจต่อพวกเขาได้ดีที่สุด ทำให้ครูผู้นำฯ ที่ผ่านการคัดเลือกและได้เข้าไปทำงานตรงนี้สามารถแก้ไขปัญหาและทำงานได้อย่างเป็นคนที่เข้าใจบริบทและคนในพื้นที่จริง ๆ นี่จึงเป็นสาเหตุหลักที่ต้องมีการเปิดพื้นที่รับฟังและเพิ่มการทำงานร่วมกับชุมชนเข้ามา เพราะเราเชื่อว่า เราเข้าไปทำงานในชุมชน คนที่ตอบเราได้ดีที่สุดก็คือชุมชน

กระบวนการสร้าง “วิสัยทัศน์ร่วม” ณ โรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง ปราจีนบุรี

Teach For Thailand ร่วมจัดกิจกรรมการดึงการมีส่วนร่วมของชุมชนและการสร้าง วิสัยทัศน์ร่วม หรือ Collective Vision ณ โรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง จังหวัดปราจีนบุรี เมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2565