Parental Engagement … ผู้ปกครองสัมพันธ์ จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง

Teach For Thailand มีเป้าหมายในการยุติความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาในประเทศไทยผ่านการสร้างเครือข่ายผู้นำที่เข้มแข็ง ผ่านการสรรหาบุคคลที่มีความสามารถเพื่อทำงานร่วมกับชุมชนเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในห้องเรียนและชีวิตของนักเรียน

"ทำไมต้อง Parental Engagement"

Teach For Thailand มีเป้าหมายในการยุติความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาในประเทศไทยผ่านการสร้างเครือข่ายผู้นำที่เข้มแข็ง ผ่านการสรรหาบุคคลที่มีความสามารถเพื่อทำงานร่วมกับชุมชนเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในห้องเรียนและชีวิตของนักเรียน 

อย่างไรก็ดี ศักยภาพและการเติบโตของเด็กมีรากฐานมาจากการเลี้ยงดูซึ่งได้รับอิทธิพลอย่างมากจากพ่อแม่และครอบครัว ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้การเรียนรู้ต้องเกิดขึ้นที่บ้านแทนที่โรงเรียน บทบาทของพ่อแม่จึงมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น เราจึงต้องการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในเชิงบวกมากขึ้นในการศึกษาของบุตรหลาน แต่ไม่ใช่พ่อแม่ทุกคนที่เตรียมพร้อมหรือสามารถเตรียมตัวสำหรับความรับผิดชอบนี้ การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในบางครั้งอาจมีความจำเป็นพอๆ กับการให้ความรู้แก่เด็ก เราจึงผลักดันให้ผู้ปกครองมีบทบาทที่กระตือรือร้นมากขึ้นระบบการศึกษา โดยขับเคลื่อนด้วยวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน การวางแผนอย่างมีจุดมุ่งหมาย การมีส่วนร่วมเชิงรุก และการดำเนินการเรียนรู้ร่วมกันของบุตรหลาน

“โครงการเสริมสร้างศักยภาพความเป็นผู้นำของผู้ปกครอง” มีเป้าหมายเพื่อสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันและดำเนินการร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ปกครองที่ทำหน้าที่เป็นผู้ขับเคลื่อนหลักในการพัฒนาบุตรหลานของพวกเขา เราเชื่อว่าหากเป้าหมายการพัฒนาของนักเรียนสอดคล้องกับความคาดหวังของผู้ปกครอง พวกเขาจะดำเนินการร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมายเหล่านั้น

การดำเนินการแก้ปัญหา

ครูผู้นำแต่ละคนได้โจทย์ในการผลักดันให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมกับโรงเรียนมากขึ้นแบบปลายเปิด กล่าวคือครูผู้นำมีอิสระในการคิดริเริ่มโครงการหรือวิธีการใดก็ได้ เพื่อที่จะส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมมากขึ้น วิธีการแตกต่างกันไปตามครูผู้ดำเนินการและสภาพแวดล้อมของโรงเรียน โดยสามารถแบ่งรูปแบบของการดำเนินงานได้ดังนี้

  • การใช้กิจกรรมหรือภารกิจที่มีอยู่เดิมแล้วให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด กล่าวคือ ครูผู้นำใช้โอกาสที่ตนจะได้เข้าถึงผู้ปกครองที่ผู้ปกครองต้องเข้าร่วมอยู่แล้ว เป็นเส้นทางในการติดต่อ ติดตาม และสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้ปกครอง เช่น งานประชุมผู้ปกครอง การเยี่ยมบ้านนักเรียน การสร้างไลน์กลุ่มผู้ปกครอง
  • การเข้าถึงผู้ปกครองโดยตรงรายคน โทรศัพท์รายงานหรือปรึกษากับผู้ปกครองโดยตรงเกี่ยวกับนักเรียน หรือนัดผู้ปกครองมาพบที่โรงเรียนเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลของนักเรียนในเชิงลึก ครูจะมีโอกาสได้รับรู้ว่านักเรียนคนนี้มีพฤติกรรมที่บ้านเป็นอย่างไร รวมถึงผู้ปกครองจะได้รู้ว่านักเรียนมีพฤติกรรม พัฒนาการ หรือความสามารถด้านไหนบ้างแสดงออกมาตอนอยู่โรงเรียน ซึ่งจะทำให้ทั้งครูและผู้ปกครองรู้จักนักเรียนดีขึ้น และสามารถสนับสนุนได้ตรงจุด
  • การดึงผู้ปกครองให้เข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมที่โรงเรียน เช่นการเชิญผู้ปกครองหรือคนในชุมชนมาสอนทักษะอาชีพให้กับนักเรียน สร้างพื้นที่ให้ผู้ปกครองได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นกับลูก ใครรับมือกันยังไง แบบไหนที่ได้ผล แบบไหนที่ไม่ได้ผล หรือจัดกิจกรรมแนะแนวโดยเชิญผู้ปกครองมาฟังกับนักเรียนด้วย

อย่างไรก็ดี ศักยภาพและการเติบโตของเด็กมีรากฐานมาจากการเลี้ยงดูซึ่งได้รับอิทธิพลอย่างมากจากพ่อแม่และครอบครัว ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้การเรียนรู้ต้องเกิดขึ้นที่บ้านแทนที่โรงเรียน บทบาทของพ่อแม่จึงมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น เราจึงต้องการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในเชิงบวกมากขึ้นในการศึกษาของบุตรหลาน แต่ไม่ใช่พ่อแม่ทุกคนที่เตรียมพร้อมหรือสามารถเตรียมตัวสำหรับความรับผิดชอบนี้ การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในบางครั้งอาจมีความจำเป็นพอๆ กับการให้ความรู้แก่เด็ก เราจึงผลักดันให้ผู้ปกครองมีบทบาทที่กระตือรือร้นมากขึ้นระบบการศึกษา โดยขับเคลื่อนด้วยวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน การวางแผนอย่างมีจุดมุ่งหมาย การมีส่วนร่วมเชิงรุก และการดำเนินการเรียนรู้ร่วมกันของบุตรหลาน

“โครงการเสริมสร้างศักยภาพความเป็นผู้นำของผู้ปกครอง” มีเป้าหมายเพื่อสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันและดำเนินการร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ปกครองที่ทำหน้าที่เป็นผู้ขับเคลื่อนหลักในการพัฒนาบุตรหลานของพวกเขา เราเชื่อว่าหากเป้าหมายการพัฒนาของนักเรียนสอดคล้องกับความคาดหวังของผู้ปกครอง พวกเขาจะดำเนินการร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมายเหล่านั้น

    อุปสรรคในการดำเนินการที่พบมากที่สุดไม่ว่าจะในพื้นที่ใด คือการที่ครูผู้นำไม่มีความเข้าใจในปัญหามากพอ ว่าจริงๆแล้วนักเรียน ผู้ปกครอง หรือชุมชนนั้นต้องการอะไร ทำให้แม้จะมีเจตนาที่ดีในการแก้ปัญหา ก็ไม่สามารถแก้ไขได้อย่างตรงจุดได้ นอกจากนี้ภาระหน้าที่ที่มีมากอยู่แล้วของครูผู้นำก็เป็นหนึ่งในอุปสรรคสำคัญในการดำเนินงาน เพราะเพราะการเข้าถึงผู้ปกครองเป็นเรื่องที่ต้องมีความสม่ำเสมอ การขาดการติดต่อ หรือขาดความสม่ำเสมอในการปฏิสัมพันธ์ จะทำให้การเข้าถึงนั้นขาดตอน และไม่สามารถสร้างผลกระทบที่ยั่งยืนได้ และอีกอุปสรรคที่ไม่สามารถมองข้ามได้ในการทำโครงการก็คือประสบการณ์ในการทำงานของครูผู้นำที่ยังขาดอยู่ ส่งผลให้การจัดทำโครงการล่าช้า และอาจไม่ประสบผลสำเร็จตามเป้า เพราะการจะจัดทำโครงนั้นจำเป็นต้องทำเอกสารต่างๆในการเสนอโครงการกับโรงเรียน มูลนิธิ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ทั้งเพื่อรับการอนุมัติ หรือรับทุนสนับสนุนโครงการ 

   จากประสบการณ์และบทเรียนจากการทำโครงการเสริมสร้างศักยภาพความเป็นผู้นำของผู้ปกครอง มูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ จึงมีข้อเสนอแนะต่อผู้ที่อยากทำโครงการที่เกี่ยวข้องว่า กุญแจสำคัญในการทำโครงการนั่นคือก็ความเข้าใจ เข้าใจปัญหาและความต้องการของทุกฝ่าย จากนั้นคือการทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญของปัญหา และมีความต้องการที่จะร่วมด้วยช่วยกันแก้ไขปัญหานี้จริงๆ ซึ่งการดำเนินโครงการควรดึงให้ผู้เกี่ยวข้องข้างต้นเข้ามามีส่วนร่วมให้ได้มากที่สุด เพราะเมื่อครูผู้ทำโครงการถอนตัวออกมาจากโรงเรียนหรือชุมชนแล้ว โครงการจะได้สามรถดำเนินต่อไปได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ดังจะเห็นได้จากวิธีการดำเนินงานที่แตกต่างไปของแต่ละชุมชน ก็เป็นเพราะว่าแต่ละชุมชนมีลักษณะที่แตกต่างกันไป โครงการไม่ควรถูกตีกรอบถึงรูปแบบการดำเนินการ มันควรถูกออกแบบให้สอดคล้องกับลักษณะของชุมชนนั้นๆ โดยครูที่เข้าใจปัญหานั้นอย่างถ่องแท้

  • การใช้กิจกรรมหรือภารกิจที่มีอยู่เดิมแล้วให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด กล่าวคือ ครูผู้นำใช้โอกาสที่ตนจะได้เข้าถึงผู้ปกครองที่ผู้ปกครองต้องเข้าร่วมอยู่แล้ว เป็นเส้นทางในการติดต่อ ติดตาม และสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้ปกครอง เช่น งานประชุมผู้ปกครอง การเยี่ยมบ้านนักเรียน การสร้างไลน์กลุ่มผู้ปกครอง
  • การเข้าถึงผู้ปกครองโดยตรงรายคน โทรศัพท์รายงานหรือปรึกษากับผู้ปกครองโดยตรงเกี่ยวกับนักเรียน หรือนัดผู้ปกครองมาพบที่โรงเรียนเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลของนักเรียนในเชิงลึก ครูจะมีโอกาสได้รับรู้ว่านักเรียนคนนี้มีพฤติกรรมที่บ้านเป็นอย่างไร รวมถึงผู้ปกครองจะได้รู้ว่านักเรียนมีพฤติกรรม พัฒนาการ หรือความสามารถด้านไหนบ้างแสดงออกมาตอนอยู่โรงเรียน ซึ่งจะทำให้ทั้งครูและผู้ปกครองรู้จักนักเรียนดีขึ้น และสามารถสนับสนุนได้ตรงจุด
  • การดึงผู้ปกครองให้เข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมที่โรงเรียน เช่นการเชิญผู้ปกครองหรือคนในชุมชนมาสอนทักษะอาชีพให้กับนักเรียน สร้างพื้นที่ให้ผู้ปกครองได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นกับลูก ใครรับมือกันยังไง แบบไหนที่ได้ผล แบบไหนที่ไม่ได้ผล หรือจัดกิจกรรมแนะแนวโดยเชิญผู้ปกครองมาฟังกับนักเรียนด้วย

   อย่างไรก็ดี ศักยภาพและการเติบโตของเด็กมีรากฐานมาจากการเลี้ยงดูซึ่งได้รับอิทธิพลอย่างมากจากพ่อแม่และครอบครัว ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้การเรียนรู้ต้องเกิดขึ้นที่บ้านแทนที่โรงเรียน บทบาทของพ่อแม่จึงมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น เราจึงต้องการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในเชิงบวกมากขึ้นในการศึกษาของบุตรหลาน แต่ไม่ใช่พ่อแม่ทุกคนที่เตรียมพร้อมหรือสามารถเตรียมตัวสำหรับความรับผิดชอบนี้ การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในบางครั้งอาจมีความจำเป็นพอๆ กับการให้ความรู้แก่เด็ก เราจึงผลักดันให้ผู้ปกครองมีบทบาทที่กระตือรือร้นมากขึ้นระบบการศึกษา โดยขับเคลื่อนด้วยวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน การวางแผนอย่างมีจุดมุ่งหมาย การมีส่วนร่วมเชิงรุก และการดำเนินการเรียนรู้ร่วมกันของบุตรหลาน

   “โครงการเสริมสร้างศักยภาพความเป็นผู้นำของผู้ปกครอง” มีเป้าหมายเพื่อสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันและดำเนินการร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ปกครองที่ทำหน้าที่เป็นผู้ขับเคลื่อนหลักในการพัฒนาบุตรหลานของพวกเขา เราเชื่อว่าหากเป้าหมายการพัฒนาของนักเรียนสอดคล้องกับความคาดหวังของผู้ปกครอง พวกเขาจะดำเนินการร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมายเหล่านั้น

-ข้อความถึงผู้ปกครอง-

ฝากความชื่นชมผู้ปกครองทุกๆท่าน เพราะถึงแม้บางท่านจะไม่มีเวลา หรือไม่มีความรู้มากพอที่จะสนับสนุนลูก แต่ยังไงแล้วก็มีแต่ความหวังดีให้กับลูกตัวเองทั้งนั้น อยากให้ทุกท่านลองทบทวนกับตัวเองอีกครั้งว่าอยากเห็นลูกตัวเองเป็นยังไง และจะส่งเสริมหรือทำยังไงให้ลูกเป็นอย่างนั้นได้ หากท่านพอจะมีเวลา อยากให้แค่กลับมากินข้าวกับลูกบ้าง กลับมาใช้เวลากับลูก เพราะแค่การดูแล ใส่ใจลูกมากขึ้นของท่าน คือส่วนหนึ่งที่สำคัญมากๆๆ ที่จะสามารถสนับสนุนลูกได้

-ข้อความฝากถึงคุณครู-

บางทีเจตนาเราดีแต่เราไม่เข้าใจว่าตัวนักเรียนต้องการอะไรมันก็จะไม่เกิดผล ถ้าเราเข้าใจและรับมือแก้ไขมันได้ดี ผลมันจะยั่งยืน แต่อย่าลังเลที่จะทำอะไรซักอย่าง ทำเลย มันเป็นสิ่งที่คุ้มค่าที่จะทำ ถึงแม้บางโครงการจะไม่ประสบความสำเร็จ แต่มันได้เรียนรู้อะไรเยอะมากๆ