เรื่องเล่าจากห้องเรียน

จากคณะเศรษฐศาสตร์ สู่ครูคณิตศาสตร์ ผู้สร้างแรงบันดาลใจ

สมัยเรียนอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น ซิวเวอร์-ณัฐพงษ์ ปฐมพรชัยวงษ์ มีโอกาสได้ออกค่ายอาสาเพื่อทำงานกับเด็กในจังหวัดต่างๆอยู่บ่อยครั้ง และเขาพบว่ามีเด็กอีกมากมายที่ยังหาตัวเองไม่เจอ ซึ่งประสบการณ์นี้ทำให้เขาต้องย้อนคิดถึงประสบการณ์ของตัวเขาเอง ผู้ซึ่งกว่าจะเข้าใจถึงความสำคัญในการค้นหาตัวเอง ก็เมื่อเรียนจบปริญญาตรีไปแล้ว “ผมก็เป็นคนนึงที่เรียนตามสังคมบอกมา ตอนเลือกคณะนี่แทบไม่ได้เลือก ผมเลือกตามเพื่อน เผอิญสอบได้ก็เรียนมา แต่ก็เริ่มสงสัยว่าทำไมเราไม่ได้ค้นหาตัวเองตั้งแต่ตอนเรียนนะ ทำไมไม่มีใครมาบอกเรา เลยรู้สึกว่าอยากจะเป็นคนคนนั้นให้นักเรียน ที่ช่วยให้เด็กรู้ว่าโลกนี้มันกว้างใหญ่แค่ไหน แล้วตัวตนของเขาควรจะอยู่ตรงไหนในโลกใบนี้” หน้าที่หลักของซิวเวอร์ในค่ายอาสาจึงเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กๆ ซึ่งเขาพบว่า “เราชอบอะไรแบบนี้ พอได้เห็นประกายในตาเด็กแล้วมันมีความสุข”

โรงเรียนเปลี่ยนได้ เริ่มจากการรับฟังและพัฒนาอย่างเป็นระบบ

ในกิจกรรมสร้างวิสัยทัศน์ร่วม (Collective Vision) ที่โรงเรียนวังเหนือวิทยา จังหวัดลำปาง นับเป็นโอกาสที่ดีที่ผู้จัดการศึกษาของโรงเรียน เช่น ผู้อำนวยการ ครู ผู้บริหารด้านการศึกษา จะได้รับฟังเสียงจากนักเรียน ผู้ปกครอง และคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อขับเคลื่อนให้โรงเรียนพัฒนาต่อได้ กิจกรรมนี้จัดขึ้นในวันที่ 21 มีนาคม 2566โดยมี ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ เป็นผู้อำนวยความสะดวก

ให้โรงเรียนเป็นพื้นที่ปลอดภัย ตอบโจทย์ในใจนักเรียน

ในการทำงานกับโรงเรียนและชุมชน ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ได้ลงมือจัดกิจกรรมสร้างวิสัยทัศน์ร่วม (Collective Vision) อย่างต่อเนื่อง กิจกรรมนี้จัดขึ้นเพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสีย ตั้งแต่ระดับนักเรียน ผู้ปกครอง ครู ผู้บริหารโรงเรียน และคนในชุมชน ได้ออกความเห็นเกี่ยวกับภาพการศึกษาที่ตนเองอยากให้เป็น

จากเด็กสายช่างสู่ผู้ชนะโครงงานวิทยาศาสตร์

ในฐานะครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 8 จิรชัย แสวงแก้ว หรือ ก้านตอง ไม่ได้มีบทบาทหน้าที่แค่การเป็นครูสอนวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เท่านั้น เพราะโรงเรียนเสด็จวนชยางค์กูลวิทยา ได้มอบหมายให้ก้านตองได้สอนในรายวิชา Independent Study (IS) ซึ่งเป็นวิชาที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าในหัวข้อที่ตนเองสนใจ และทำการทดลองหรือลงมือทำด้วยตนเอง และวิชานี้เองก็ได้นำพาให้ก้านตองมารู้กับเด็กที่เรียนทางสายช่างกลุ่มหนึ่ง ผู้ซึ่งยังไม่ประสบความสำเร็จกับการทำโครงงานชิ้นนี้เสียที

สร้างได้ทุกอย่าง แม้เริ่มจากความไม่รู้

ถ้าเราสร้างบางอย่างจากสิ่งที่คนต้องการอยู่แล้ว เช่น อยากสร้างสระว่ายน้ำ เพราะมีคนอยากว่ายน้ำ มันไม่ยาก แต่การสร้างอะไรบางอย่างจากสิ่งที่คนไม่รู้ว่าตัวเขาเองก็ต้องการ เป็นสิ่งที่ท้าทายยิ่งกว่า

2 ปีเพื่อตอบคำถาม คลายปมในใจ และ รับบท “ผู้ให้” ในสังคม

สมัยเรียนอยู่คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เอิร์น-จินต์ศุจี ขวัญโพก มีโอกาสได้เรียนวิชาปรัชญาการศึกษา และต้องเขียนวิพากษ์การศึกษาอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเอิร์นเองได้แต่วิพากษ์ในมุมคนนอก โดยปราศจากความเข้าใจในข้อจำกัดต่างๆที่ทำให้ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ความค้างคาใจในต้นตอของปัญหาการศึกษาจึงเป็นเหตุผลให้เอิร์นตัดสินใจเข้าร่วมโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 8 เพื่อค้นหาความเป็นจริงจากมุมมองคนใน

Growth Mindset ทัศนคติปิดตายความกลัว เพื่อเปิดโลกทั้งใบ

เชื่อว่าโควิด-19 น่าจะเป็นจุดเปลี่ยนของอาชีพการงานของหลายๆคน ซึ่งหยก-ธีรภัทร แก้วลำใย ก็เป็นหนึ่งในคนเหล่านั้น เพราะเมื่อเขาได้รู้ว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้มีนักเรียนหลุดออกจากระบบมากมาย หยกจึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

Hack Thailand 2575: คลุกวงในกับปัญหา เพื่อพัฒนาอย่างรู้จริง

สิ่งหนึ่งที่ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงหลายคนสะท้อนออกมาอย่างชัดเจน ว่าได้รับจากการทำงานเป็นครู 2 ปี ก็คือ ?การได้เข้าไปเห็นปัญหาการศึกษาจริงๆ? จากเด็กระดับหัวกะทิในมหาวิทยาลัยชั้นนำที่ไม่เคยคลุกคลีกับการศึกษาในโรงเรียนที่มีปัญหา พวกเขาได้ลงพื้นที่และคลุกวงในกับปัญหา จนมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า ?ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา มีความหมายว่าอย่างไร?

2 ปีสู่ความเข้าใจถึงต้นต่อปัญหาการศึกษาไทยที่แอบไว้ใต้พรม

ดนย์-พัทธดนย์ บุตรไชย มีความฝันว่าอยากจะเป็นครูมาตั้งแต่ไหนแต่ไร เพราะเขาได้รับแรงบันดาลใจจากครูท่านหนึ่ง ผู้ซึ่งพลิกชะตาชีวิตของเด็กหลังห้องอย่างตัวเขาเอง ผ่านการใส่ใจและรับฟัง ดนย์จึงมีความรู้สึกว่าคนเป็นครูนั้น มีความสำคัญโดยเฉพาะยิ่งต่อเด็กที่มีปัญหา "นี่คือสิ่งที่เราอยากเป็นในอนาคต เราอยากเป็นคนแบบนี้ ที่อยู่กับเด็กแบบนี้"