สร้างการเปลี่ยนแปลงในแบบของตัวเอง

แม้ จ๋าแพรวพรรณ วาสวกุล จะจบการศึกษาปริญญาตรีจากคณะศิลปศาสตร์ เอกอังกฤษ-อเมริกันศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งไม่ได้เป็นคณะที่มีความเกี่ยวข้องกับการศึกษาโดยตรง แต่จ๋ากลับร่วมหลากหลายกิจกรรมที่สร้างบันดาลใจให้เธอเข้าสู่วงการการศึกษาตั้งแต่สมัยอยู่มหาวิทยาลัย

     แม้ จ๋าแพรวพรรณ วาสวกุล จะจบการศึกษาปริญญาตรีจากคณะศิลปศาสตร์  เอกอังกฤษ-อเมริกันศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งไม่ได้เป็นคณะที่มีความเกี่ยวข้องกับการศึกษาโดยตรง แต่จ๋ากลับร่วมหลากหลายกิจกรรมที่สร้างบันดาลใจให้เธอเข้าสู่วงการการศึกษาตั้งแต่สมัยอยู่มหาวิทยาลัย 

พัฒนาตัวเองในสังคมดีๆ

     การได้เป็นครูอาสาของมูลนิธิโรงเรียนวันเสาร์ หรือ Saturday School (มูลนิธิด้านการศึกษาที่ก่อตั้งโดยศิษย์เก่าทีช ฟอร์ ไทยแลนด์) หรือการได้ไปร่วมโครงการของ AIESEC (องค์กรเยาวชนที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อสร้างพื้นที่สำหรับเยาวชนในการพัฒนาความเป็นผู้นำ) ที่ประเทศไต้หวัน เป็นหนึ่งในหลายกิจกรรมในช่วงชีวิตมหาวิทยาลัยของเธอที่ทำให้เธอเริ่มคิดจริงจังถึงการทำงานเป็นด่านหน้าในวงการการศึกษา ยิ่งเมื่อได้ผลงานของศิษย์เก่าหลายๆคนที่ได้สร้างไว้ทั้งระหว่างและหลังจบโครงการแล้ว จ๋ายิ่งไม่ลังเลที่จะสมัครเข้าร่วมโครงการเพราะนอกเธอจะได้เริ่มต้นเส้นทางอาชีพทางการศึกษาพร้อมพัฒนาตัวเองแล้ว การเป็นครูผู้นำยังจะนำพาให้เธอได้พบกับกลุ่มคนและสังคมคุณภาพ ที่จะเป็นเครือข่ายและมิตรภาพในระยะยาว

บทเรียนและทักษะจากการเป็นครูผู้นำที่ติดตัวมาจนทุกวันนี้

     ตลอดระยะเวลา 2 ปีในการเป็นครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 6 ที่โรงเรียนวัดมโนรม จังหวัดชลบุรีนั้น จ๋าได้พัฒนาตัวเองในหลากหลายแง่มุม ด้วยบริบทที่ต้องเจอคนหลากหลาย เธอได้เข้าใจว่าการกระทำทุกอย่างของทุกคนย่อมมีเหตุผลเบื่องลึกเบื้องหลัง จึงเรียนรู้ที่จะทำความเข้าใจและไม่ด่วนตัดสิน และเป็นหนึ่งในบทเรียนที่เธอติดตัวเธอมาจนทุกวันนี้ จ๋าเล่าว่า “อาจจะฟังดูเป็นเรื่องเล็กๆ แต่ในบางครั้งการตัดสินเหล่านั้นอาจจะส่งผลทางจิตใจและการกระทำที่มากกว่านั้นก็เป็นได้  ทำให้เราใจเย็น คิดรอบด้าน เข้าใจคนอื่นมากขึ้น” ซึ่งจ๋ามองการสิ่งที่เธอได้เรียนรู้จากคณะศิลปศาสตร์นั้น มีส่วนช่วยอย่างยิ่งในข้อนี้เพราะ “ความเป็นศิลปศาสตร์เอกนี้หล่อหลอม ทำให้เรา respect ความแตกต่าง และการที่ไปโรงเรียนหรือบริบทที่แตกต่างมันทำให้เราเคารพในความแตกต่าง … มันทำให้เรามีภูมิคุ้มกัน”

     การวางแผนและจัดการเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เธอได้ติดตัวกลับมาจากการเป็นครูผู้นำ เพราะบทบาทของเธอนั้นมีภาระหน้าที่มากมาย การวางแผนและจัดการจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่ทำให้เธอสามารถบรรลุทุกอย่างตามเป้าหมายในระยะเวลา 2 ปี 

มุมมองใหม่ๆและความเข้าใจในปัญหาการศึกษา

     แต่นอกจากทักษะและประสบการณ์หลากหลายที่จ๋าได้เรียนรู้แล้ว เธอยังเปลี่ยนมุมมองหลายๆอย่างจากการทำงานเป็นครูผู้นำ เช่นการได้มองเห็นความสนุกจากเรื่องท้าทาย “เรารู้สึกสนุกกับความท้าทายว่าคาบพรุ่งนี้จะทำยังไงให้ดีชึ้น เราชอบฟังนักเรียน feedback เราเปลี่ยนมุมมองจากที่ถามว่า ทำไมเป็นแบบนี้ ทำยังไงให้มันดีขึ้น มันเลยทำให้ทุกวันนี้เราใช้เวลาในการตั้งคำถามน้อยลง และใช้เวลาตรงนั้นกับการหาทางออก”

 

     แต่มุมมองที่สำคัญที่สุดคงเป็นมุมมองที่จ๋าที่มีต่อครูและปัญหาการศึกษาไทย เพราะปัญหาการศึกษาที่เธอได้ยินมา คือ ครูไม่สอน ทำเอกสารเยอะแยะ แต่พอเธอได้เข้าไปในโรงเรียนและเห็นสภาพความเป็นจริงแล้วนั้น มันทำให้เธอเข้าใจถึงเหตุผลเบื้องหลัง “เราเจอครูหลายคนที่อยากสอนแต่ด้วยภาระหรือระบบที่กดทับอยู่มันทำให้เขาไม่สามารถสอน ก่อนเข้าไปเราอาจจะเผลอตัดสินเขาไปแล้ว แต่การทำงานในโรงเรียนทำให้เราเข้าใจมุมมองและเหตุผลของเขามากขึ้น และที่สำคัญคือแล้วเราในฐานะคนหนึ่งที่ทำงานร่วมกับเขาจะสามารถสนับสนุนพวกเขาเหล่านั้นได้อย่างไร”

ความผูกพันธ์กับนักเรียน และโรงเรียน

     แต่นอกเหนือจากการพัฒนาตัวเอง ความเข้าใจในปัญหาการศึกษาอย่างแท้จริง และมิตรภาพเครือข่ายเพื่อนร่วมรุ่นที่เธอได้รับจากโครงการแล้วนั้น เธอยังได้รับพลังใจจากการเป็นผู้ให้ในฐานะครูแม้จะจบโครงการไปแล้วก็ตาม เพราะเมื่อเธอกลับไปเยี่ยมโรงเรียนและนักเรียนของเธอหลังจากที่จบโครงการไปแล้วนั้น เธอพบว่าเธอยังคงเป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตของนักเรียนของเธอ แม้ว่าเธอยังไม่ได้ทำการสอนที่โรงเรียนแล้วก็ตาม “ท้ายเทอมเราได้ทำการ์ดให้แต่ละคน ซึ่งมีนักเรียนคนนึงยังเก็บการ์นั้นไว้หลังเคสโทรศัพท์ตัวเอง เขาก็บอกว่าถ้าวันไหนที่เหนื่อยหรือเศร้าเขาก็กลับมาอ่านการ์ดใบนี้”

 

     ปัจจุบันจ๋าเป็นครูสอนภาษาอังกฤษอิสระ ที่รับสอนทั้งส่วนตัว ในโรงเรียน ในสถาบัน เพราะเธอมองว่าการส่งต่อความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษ นั้นเป็นการกุญแจที่จะเปิดประตูให้พวกเด็กๆได้ไปหาสิ่งที่เขาสนใจหรือมีประโยชน์กับอนาคตของเขา นอกเหนือจากการสอนแล้วจ๋ายังรับจัดค่ายภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ที่สนุกและมีประสิทธิภาพในเวลาเดียวกัน ซึ่งเมื่อปีที่แล้วนั้น จ๋าได้กลับไปจัดค่ายให้ที่โรงเรียนวัดมโนรม ซึ่งนอกเหนือจากผลลัพธ์ท้ายสุดที่นักเรียนสามารถเรียนรู้และเปลี่ยนทัศนคติต่อภาษาอังกฤษหลังจากจบค่ายแล้ว จ๋ายังได้เห็นถึงครูผู้นำรุ่นปัจจุบันและครูในระบบร่วมมือกันดำเนินกิจกรรมเพื่อนักเรียน ซึ่งเธอหวังเป็นอย่างยิ่งว่าค่ายของเธอจะเป็นกิจกรรมเล็กๆที่จะจุดประกายไฟให้ผู้ใหญ่มีกำลังใจในการร่วมมือกันเพื่อผลักดันนักเรียนในพื้นที่ต่อไป ซึ่งเส้นทางหลังจากโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลงของจ๋านั้น เป็นบทพิสูจน์สำคัญว่าไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ตำแหน่งอะไร องค์กรจะเล็กหรือใหญ่เท่าใด ทุกคนก็สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในแบบของตัวเอง ในบริบทของตัวเอง ด้วยทรัพยากรที่ตัวเองมี

โอกาสในการก้าวข้ามความท้าทาย

     จ๋ามองว่าโครงการนี้เหมาะกับคนที่มองหาโอกาสในการก้าวข้ามความท้าทายในสภาพแวดล้อมที่แปลกใหม่ ผู้ที่เข้าร่วมโครงการจึงควรมีความยืดหยุ่นในตัวสูง และพร้อมที่เปิดกว้าง และเปิดใจเพื่อทำความเข้าใจกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น เพราะบริบทการทำงานอาจจะไม่ได้เป็นแบบที่คิด หรือที่ได้ยินมา 

     แต่ในขณะเดียวกันผู้ร่วมโครงการก็จะได้พัฒนาตัวเอง และมีเครือข่ายเพื่อนร่วมรุ่นที่จะช่วยกันฝ่าฟันอุปสรรคตลอด 2 ปีของการเป็นครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับการเปลี่ยนแปลงอนาคตการศึกษาไทย นักเรียนไทยนับร้อยและตัวคุณ ผ่าน ‘โครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลง’ เป็นระยะเวลา 2 ปี ผ่านการสอน และ ทำงานร่วมกับเครือข่าย โรงเรียน ชุมชน ผู้ปกครอง 

สมัครได้แล้วตั้งแต่วันนี้ที่…https://tft-fellowship.org