เรื่องเล่าจากห้องเรียน

2 ปีที่แสนทรงพลังและคุ้มค่าเกินราคาค่าตัว

ระหว่างศึกษาอยู่ที่คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทักทาย-อัฎฐ์ทิพร ประสาทไทย เดินสายเป็นครูอาสาตั้งแต่ปี 2 จนได้มาเจอครูพี่เลี้ยงท่านหนึ่งที่แนะนำให้เธอมาลองสมัครโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลง ทักทายผู้ซึ่งมีความฝันที่จะเป็นครูอยู่แล้ว จึงได้ทำความรู้จักกับโครงการตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จนตอนจบปี 4 ซึ่งประจวบเหมาะกับช่วงเวลาที่มีโควิด-19 ทักทายจึงใช้เวลา 2 ปี ระหว่างที่เศรษฐกิจและอนาคตยังไม่แน่นอน ในการหาคำตอบร่วมกับมูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ว่าความฝันของเธอที่อยากเป็นครูนั้น จะหยุดอยู่แค่การเป็นเพียงความฝันหรือไม่

ขยายเส้นขอบฟ้าของการเรียนรู้ สู่อนาคตที่กำหนดได้

?หลังจากเข้าไปคุยกับเพื่อนต่างชาติในแชท นักเรียนเริ่มเปิดใจและพยายาม เขาบอกว่าเพื่อนๆดูคุยกันสนุกมากเลย และบางคนก็เริ่มพูดว่าภาษาไม่ใช่กำแพง เขาได้มองภาษาในมุมใหม่ สร้างเพื่อนใหม่ สังคมใหม่? ครูเดีย - ธีรนันท์ ธีรเสนี ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงของ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ รุ่น 8 ได้สอนภาษาอังกฤษอยู่ที่โรงเรียนศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรีมา 1 ปีกว่า ในวันที่เธอใกล้จะจบจากการทำหน้าที่สอนในโรงเรียน 2 ปี เธอนึกย้อนไป และแบ่งปันคำจำกัดความประสบการณ์ใน ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ไว้ด้วยประโยคสั้นๆ

ครูผู้นำนักฟังที่พร้อมจะยืนเคียงข้างนักเรียนโดยไม่ด่วนตัดสิน

ในช่วงปีสุดท้ายที่คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น ฝ้าย-ชนันญา น้อยสันเทียะ ได้ไปฝึกงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณครู แต่หลังจากลองฝึกงานได้สักพัก ฝ้ายรู้สึกว่าก่อนที่จะไปพัฒนาครูนั้น ฝ้ายต้องเข้าใจก่อนว่าวันๆคุณครูทำอะไรกันบ้าง แล้วนักเรียนเป็นอย่างไรอยู่แล้วบ้าง ประจวบเหมาะกับการที่ได้ฟังข้อมูลโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลงจากศิษย์เก่าโครงการ ฝ้ายจึงรู้สึกว่าโครงการนี้ตอบโจทย์ ฝ้ายจึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการของมูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ในฐานะครูผู้นำรุ่นที่ 8

รับฟังจากใจจริง เพื่อชุบชีวิตเป้าหมายในตัวนักเรียน

?อาจารย์ ผมยังไม่อยากออกจากโรงเรียนตอนนี้ ผมยังอยากสนุกกับเพื่อนๆ และอยากเรียนอยู่ ถ้าผมออกจากโรงเรียนผมก็จะไม่มีใครคุยด้วย ไม่มีใครเล่นด้วย? เสียงสะท้อนจากนักเรียนคนหนึ่งที่มีเรื่องชกต่อยกับเพื่อน ดังเข้าหูครูกิ่ง ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงของ Teach For Thailand ที่สอนภาษาอังกฤษอยู่ที่โรงเรียนหนองใหญ่ศิริวรวาทวิทยา* จังหวัดชลบุรี นักเรียนคนนี้เข้าห้องปกครองเพราะเรื่องชกต่อยอยู่บ่อยครั้ง แต่แม้ใครๆจะเห็นว่าเด็กคนนี้เกเร เมื่อครูกิ่งมองไปที่เขา เธอกลับเห็นเด็กที่ขาดความใส่ใจจากเพื่อน ครู และผู้ปกครอง

ครูผู้นำที่อยากสร้างการเปลี่ยนแปลงมากกว่าแค่ในห้องเรียน

พร-ภัทรานิษฐ์ ฤทธิแสง ใช้เวลาเพียง 3 ปีครึ่งในรั้วมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก่อนที่จะได้รับปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์มาครอบครอง ด้วยความที่เรียนจบเร็วกว่าคนอื่น พรจึงได้มีโอกาสได้ไปลองทำงานบริษัท แต่ไม่นาน พรก็ค้นพบว่าโลกในมหาวิทยาลัยกับโลกในการทำงานนั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

คุณค่าของ “ประสบการณ์” จากโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลง

ในช่วงปี 4 ก่อนที่จะเรียนจบ ก้านตองได้มีโอกาสไปสอนพิเศษให้กับน้อง ๆ แถวบ้านที่จังหวัดนครปฐม จากความตั้งใจแรกที่เพียงอยากไปลองหาประสบการณ์ ก้านตองกลับชื่นชอบการสอนอย่างจริงจัง จึงเริ่มต้นหาช่องทางที่จะเป็นครู ประกอบกับที่ก้านตองเองเป็นคนที่ชอบทำกิจกรรมจิตอาสามาก ๆ ทำให้ได้เคยไปออกค่ายอาสาต่าง ๆ จึงได้เห็นความเหลื่อมล้ำทางด้านการศึกษาของสังคมไทยที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น นี้เป็นอีกหนึ่งแรงผลักดันที่ทำให้อยากลองมาเป็นครู เพื่อที่จะหาช่องทางในการช่วยพัฒนาสังคมไทยและชุมชนของตนเอง จนได้มาพบกับโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลงของมูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ที่เปิดโอกาสให้เด็กคณะวิทย์อย่างก้านตองได้มาลองสนามจริงผ่านบทบาท ?ครู? เป็นเวลาเต็ม ๆ ถึง 2 ปี

“การก้าวออกจาก Comfort zone สู่ การเดินทางแห่งการพัฒนา”

ชนิษฐ์ภัค ภูมิสูง (ไอเซ็น) นักศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์ เอกชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในช่วงมหาวิทยาลัย ไอเซ็นใช้เวลาส่วนหนึ่งในการสอนและพัฒนาศักยภาพนักเรียนผ่านการสอนพิเศษ ไอเซ็นมองว่าสเน่ห์ของการสอนคือการที่ได้ถ่ายทอดความรู้ หรือทริคในการเข้าใจเนื้อหาต่าง ๆ และทำให้เขาไปถึงเป้าหมายที่พวกเขาตั้งไว้ ถ้าย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นของเส้นทางการเปลี่ยนแปลง เรามองว่าการศึกษาคือรากฐานของการพัฒนาประเทศ ซึ่งการศึกษาไทยยังมีหนทางอีกยาวไกลในการพัฒนา เราเลยอยากเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการศึกษาไทยให้ไปได้ไกลกว่านี้ รวมถึงอยากใช้โอกาสนี้ในการเสริมสร้างทักษะและประสบการณ์ให้เด็ก ๆ ในโรงเรียนขยายโอกาสอีกด้วย

Collective Vision (วิสัยทัศน์ร่วม): การศึกษาในชุมชนต้องไปต่อได้ แม้ไม่มี Teach For Thailand

?เคยมีปัญหาเรื่องการสื่อสาร อย่างเช่น ครูกับ ผ.อ. ไม่ถูกกัน ซึ่งมีอยู่แล้วในทุกโรงเรียน ครูเองก็แสดงความคิดเห็นแรงๆในบางเรื่อง ส่วน ผ.อ. ก็ใส่สุดในบางเรื่อง ก็ต้องตกลงกันก่อนว่า เราในฐานะคนอยู่หน้าเวที หรือน้องๆ Fellow ที่ต้องนำกิจกรรม จะทำยังไงให้เขาแลกเปลี่ยนความเห็นกันได้?

การเติบโตของผู้นำการเปลี่ยนแปลง สู่ ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ห้องเรียนของทุกคน

เนื้อแพร พรหมหิตร (นุ่มนิ่ม) จบการศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์ ภาคเคมี จุฬาลงกรณ?์มหาวิทยาลัย นอกเหนือจากการเป็นหัวหน้าภาควิชาแล้ว อีกหนึ่งบทบาทที่นุ่มนิ่มใช้เวลาและความทุ่มเทในการลงมือทำก็คือการสอนพิเศษ ตลอดระยะเวลา 4-5 ปีที่นุ่มนิ่มสอน นุ่มนิ่มรู้สึกมีแรงบันดาลใจและพลังในการทำให้นักเรียนของเขาทุกคนไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ เรารู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จของพวกเขาเหล่านั้น และเราเองได้มีโอกาสไปทำค่ายอาสา ทำให้เราเห็นถึงความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ว่ายังมีเด็กไทยอีกมากที่ยังไม่เข้าถึงการศึกษา เราเลยอยากเป็นคนหนึ่งที่ลงมือ และเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเด็ก ๆ กลุ่มนี้บ้าง