เรื่องเล่าจากห้องเรียน

สร้างได้ทุกอย่าง แม้เริ่มจากความไม่รู้

?ถ้าเราสร้างบางอย่างจากสิ่งที่คนต้องการอยู่แล้ว เช่น อยากสร้างสระว่ายน้ำ เพราะมีคนอยากว่ายน้ำ มันไม่ยาก แต่การสร้างอะไรบางอย่างจากสิ่งที่คนไม่รู้ว่าตัวเขาเองก็ต้องการ เป็นสิ่งที่ท้าทายยิ่งกว่า?

2 ปีเพื่อตอบคำถาม คลายปมในใจ และ รับบท ?ผู้ให้? ในสังคม

สมัยเรียนอยู่คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เอิร์น-จินต์ศุจี ขวัญโพก มีโอกาสได้เรียนวิชาปรัชญาการศึกษา และต้องเขียนวิพากษ์การศึกษาอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเอิร์นเองได้แต่วิพากษ์ในมุมคนนอก โดยปราศจากความเข้าใจในข้อจำกัดต่างๆที่ทำให้ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ความค้างคาใจในต้นตอของปัญหาการศึกษาจึงเป็นเหตุผลให้เอิร์นตัดสินใจเข้าร่วมโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 8 เพื่อค้นหาความเป็นจริงจากมุมมองคนใน

Growth Mindset ทัศนคติปิดตายความกลัว เพื่อเปิดโลกทั้งใบ

เชื่อว่าโควิด-19 น่าจะเป็นจุดเปลี่ยนของอาชีพการงานของหลายๆคน ซึ่งหยก-ธีรภัทร แก้วลำใย ก็เป็นหนึ่งในคนเหล่านั้น เพราะเมื่อเขาได้รู้ว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้มีนักเรียนหลุดออกจากระบบมากมาย หยกจึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

Hack Thailand 2575: คลุกวงในกับปัญหา เพื่อพัฒนาอย่างรู้จริง

สิ่งหนึ่งที่ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงหลายคนสะท้อนออกมาอย่างชัดเจน ว่าได้รับจากการทำงานเป็นครู 2 ปี ก็คือ ?การได้เข้าไปเห็นปัญหาการศึกษาจริงๆ? จากเด็กระดับหัวกะทิในมหาวิทยาลัยชั้นนำที่ไม่เคยคลุกคลีกับการศึกษาในโรงเรียนที่มีปัญหา พวกเขาได้ลงพื้นที่และคลุกวงในกับปัญหา จนมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า ?ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา มีความหมายว่าอย่างไร?

2 ปีสู่ความเข้าใจถึงต้นต่อปัญหาการศึกษาไทยที่แอบไว้ใต้พรม

ดนย์-พัทธดนย์ บุตรไชย มีความฝันว่าอยากจะเป็นครูมาตั้งแต่ไหนแต่ไร เพราะเขาได้รับแรงบันดาลใจจากครูท่านหนึ่ง ผู้ซึ่งพลิกชะตาชีวิตของเด็กหลังห้องอย่างตัวเขาเอง ผ่านการใส่ใจและรับฟัง ดนย์จึงมีความรู้สึกว่าคนเป็นครูนั้น มีความสำคัญโดยเฉพาะยิ่งต่อเด็กที่มีปัญหา ?นี่คือสิ่งที่เราอยากเป็นในอนาคต เราอยากเป็นคนแบบนี้ ที่อยู่กับเด็กแบบนี้?

ทุกอุปสรรคคือโอกาสสร้างงานพัฒนา

ครูน็อต ว่าที่ ร.ต. พงศกร ประยงค์รักษ์ ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงของ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ รุ่นที่ 9 เพิ่งลงพื้นที่สอนในโรงเรียนมาได้กว่าครึ่งปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ทำให้เขารู้ตัวว่าจะปักหลักอยู่ตรงนี้ เพราะได้สร้างคนรุ่นใหม่ที่เป็น ?ทีม? ของตัวเองไว้แล้ว และทำให้เขาเชื่อว่าเด็กทุกคนมีศักยภาพที่จะก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆ ด้วยตัวเองอย่างน่าทึ่ง

งานที่ทำให้อยากตื่นมาทำในทุกๆวัน

นอกเหนือจากความรู้เกี่ยวกับศาสนาและปรัชญาแล้ว สิ่งที่มะนาว-ชาลินี นินนานนท์ ได้จากวิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล คือความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับบริบทปัญหาในสังคม ซึ่งเมื่อเธอได้มารู้จักกับโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลง ที่มีเป้าหมายในการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมปัจจุบัน มะนาวจึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการผู้นำฯทันที

อีกทางเลือกของนักปรัชญา

ก่อนที่จะมาเป็นครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 8 นั้น หลิน-ศุภนุช บุรินทร์ธนฉัตร เคยทำงานอยู่ในโรงเรียนนานาชาติจนเห็นระบบการศึกษา หลักสูตร และการดูแลติดตามนักเรียนที่ทำให้หลินตั้งคำถามว่า ทำไมเธอถึงไม่ได้สิ่งเหล่านี้สมัยที่เธอเรียนมัธยม? จนเมื่อวันหนึ่งที่เธอได้รู้จักโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลง และเป้าหมายของมูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ในการทำให้เด็กทุกคนมีความรู้ ทักษะ เจตคติและโอกาสต่างๆ ที่เอื้อให้พวกเขากำหนด อนาคตของตนเองและครอบครัวได้นั้น หลินจึงไม่รอช้าและตัดสินใจสมัครเข้าร่วมโครงการผู้นำฯทันที

ห้องเรียนผู้กล้า

โค้ก-เทอดศักดิ์ ขจรบุญ เป็นอีกตัวอย่างของครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีทั้งปริญญาตรี และปริญญาโท จากคณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พร้อมประสบการณ์การทำงานหลากหลายกว่า 10 ปี แต่สุดท้ายโค้กก็ยังเลือกที่จะมาร่วมโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่น 8