Teach For Thailand ประกาศผลรางวัลชนะเลิศและรางวัลพิเศษ พร้อมมอบรางวัลให้ทีมผู้ร่วมแข่งขัน “EdChange Maker Challenge 2022”

เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2565 Teach For Thailand ได้จัดการแข่งขันในรอบรองชนะเลิศและรอบชนะเลิศเพื่อตัดสินและประกาศผลรางวัลชนะเลิศ รางวัลรองชนะเลิศ และรางวัลพิเศษ ให้ทีมผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับคัดเลือกทั้งหมด 8 ทีม ในการแข่งขัน ‘EdChange Maker Challenge 2022’ ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้เข้าแข่งขันนำเสนอโครงการและกลยุทธ์ที่สร้างสรรค์เพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการศึกษาของนักเรียน โดยมี SEA Group เป็นผู้สนับสนุนการจัดการแข่งขัน

งานดังกล่าวจัดขึ้นในรูปแบบผสมผสาน (Hybrid) โดยคณะกรรมการและทีมผู้เข้าร่วมการแข่งขันที่ผ่านเข้ารอบทั้ง 8 ทีมได้เข้าร่วมงานเพื่อนำเสนอโครงการทั้งในสถานที่จัดงานและระบบออนไลน์ ผ่านแอพพลิเคชั่น Zoom Meeting ตั้งแต่ช่วงเช้าเพื่อคัดเลือกทีมที่ผ่านเข้ารอบต่อไป 4 ทีม จากนั้นจึงให้ทีมที่ผ่านการคัดเลือกนำเสนอโครงการ พร้อมทั้งตอบคำถาม และมีการประกาศผลรางวัลในช่วงบ่าย

ที่มา

จุดเริ่มต้นของการแข่งขัน ‘EdChange Maker Challenge 2022’ เกิดจากแนวคิดว่า “ความสัมพันธ์ที่ดีของโรงเรียน ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน จะช่วยสนับสนุนให้นักเรียนได้รับการศึกษาที่ดีขึ้น” ซึ่งจากการสำรวจและพูดคุยกับครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่สอนอยู่ในโรงเรียนหลายแห่งทั่วประเทศทำให้เล็งเห็นปัญหาการขาดความมีส่วนร่วมกับผู้ปกครอง ถึงแม้ในปัจจุบัน โรงเรียนจะจัดกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับผู้ปกครอง เช่น การประชุมผู้ปกครอง และ การเยี่ยมบ้าน แต่รูปแบบการดำเนินงานยังเป็นการสื่อสารทางเดียวซึ่งผู้ปกครองยังไม่มีส่วนร่วมในการศึกษาของบุตรหลานมากเท่าที่ควร

Teach For Thailand จึงริเริ่มโครงการเพิ่มส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองขึ้น เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสื่อสารสามทิศทาง ระหว่าง โรงเรียน ผู้ปกครอง และนักเรียน โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ

  1. ผู้ปกครองเข้าใจถึงพฤติกรรมของบุตรหลานตัวเองมากขึ้น และช่วยสนับสนุนบุตรหลานทางด้านอารมณ์
  2. ผลการเรียนและพฤติกรรมของนักเรียนดีมากขึ้นจากสัมพันธภาพเชิงบวกกับผู้ปกครองและการสนับสนุนของผู้ปกครอง
  3. ผู้ปกครองตระหนักถึงความสําคัญของการศึกษา และนําไปสู่อัตราการหลุดจากระบบการศึกษาที่น้อยลงของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมต้น เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือสายอาชีวะต่อไป

รูปแบบการแข่งขัน ‘EdChange Maker Challenge 2022’

Teach For Thailand ตั้งโจทย์ในการแข่งขันครั้งนี้ โดยให้ทีมผู้เข้าแข่งขันนําเสนอกลยุทธ์ ที่สามารถส่งต่อให้ครูผู้นําการเปลี่ยนแปลงทำต่อได้ในโรงเรียนเครือข่ายของมูลนิธิ ซึ่งกลยุทธ์ดังกล่าวต้องเพิ่มประสิทธิภาพให้กิจกรรมที่ทำอยู่แล้ว และให้ผู้แข่งขันนำเสนอกิจกรรมสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมใหม่ที่สร้างการมีส่วนร่วมมากขึ้นโดยไม่เป็นการเพิ่มภาระให้ครูหรือผู้ปกครองมากเกินไป

ทีมผู้แข่งขันต้องจัดทำและนำเสนอ บทวิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์ปัจจุบัน (Situation Analysis) บทสรุป (Executive Summary) กลยุทธ์ในการแก้ปัญหาและเหตุผล (Strategy) แผนการดําเนินงานและตัวชี้วัดความสําเร็จ (Implementation Plan and KPI) และผลลัพธ์ที่คาดหวัง (Expected Results)

มีทีมนักศึกษาจากมหาวิทาลัยหลายแห่งสมัครเข้าแข่งขันและส่งผลงานเข้าร่วมการคัดเลือกรวมทั้งหมด 79 ทีม คิดเป็นจำนวนผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 260 คน ซึ่งทางคณะกรรมการได้คัดเลือกผลงานที่ผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศจำนวน 8 ทีมเพื่อนำเสนอผลงานในวันแข่งขัน

การประกาศผลรางวัล

ทีมชนะเลิศ ได้แก่ ทีม EDtraordinary (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

รายชื่อสมาชิก: ณัฎฐริกา ทารินทร์ และ กาญจนพร รันตบุรี

สรุปกลยุทธ์การแก้ปัญหา: สร้างพื้นที่สื่อสารและความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักเรียนกับผู้ปกครองมากขึ้น ด้วยโครงการ “Camp for Parents”, กิจกรรมภายใน Camp: 1) Tell them about your great Child: พูดสิ่งที่ผู้ปกครองภูมิใจในลูกตัวเอง 2)  Simulation: จำลองสถานการณ์เพื่อจะได้เข้าใจบทบาทตัวเองและผู้อื่น  3) Training about student’s problem: อบรมผู้ปกครองในแนวทางการแก้ไขปัญหาลูกตัวเอง         4) Club Friday Talk: ผู้ปกครองและครูคุยร่วมกันถึงประเด็นปัญหาแนวทางนักเรียนและแลกเปลี่ยนกันในวันศุกร์ เดือนละ 1 ครั้ง 5) เพิ่มช่องทางการสื่อสารของครูและผู้ปกครอง

ทีมรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง ได้แก่ ทีม BPM Centre (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

รายชื่อสมาชิก: เมสิยา กรรณวัฒน์, นรมน อาชาเจริญสุข, ชญตา ศิลปศาสตร์ และ อาภารัศมิ์ สิริสารินท์

สรุปกลยุทธ์การแก้ปัญหา: 1) ยกระดับประชุมผู้ปกครองด้วยกิจกรรมละลายพฤติกรรม ตั้งหัวข้อให้ครอบครัวคุยกัน 2) การปรึกษาตัวต่อตัวระหว่างครูกับผู้ปกครองหลังประชุมผู้ปกครอง 3) ทำสรุปการประชุมผู้ปกครองเป็นออนไลน์ 4) เพิ่มช่องทางสื่อสาร line group 5) Application Child Mood: ติดตามอารมณ์ของเด็กและให้นักเรียนเขียนบันทึก ไดอารี่ ให้ผู้ปกครองเข้าไปอ่านได้บนแอพ

ทีมรองชนะเลิศอันดับสอง ได้แก่ ทีม KPM Consulting (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

รายชื่อสมาชิก: พีรพล พงศาวกุล, ศุภวิชญ์ ศิริณัฏสมบูรณ์, ณภัทร จิตต์ปราณีต, และ ธนวินท์ ปัญญานิธิ

สรุปกลยุทธ์การแก้ปัญหา: 1) Spark the fire: ยกระดับประชุมผูปกครอง ด้วยการทำคลิปวีดีโอรกระตุ้นให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการศึกษาลูก – สำรวจความคาดหวังของผู้ปกครองต่อลูก, กิจกรรม Time Capsule: ให้นักเรียนจุดประกายและตั้งเป้าหมายของตัวเองในอีก 1 ปีข้างหน้า 2) Align the thought: กิจกรรม Teacher Consultation นักเรียนปรึกษาคุณครูเรื่องเป้าหมายตัวเองและใช้การเยี่ยมบ้านในการตั้งเป้าหมายของทั้ง 3 ฝ่ายให้ตรงกัน, ทำคู่มือวิธีการคุยเล่นกับลูกให้ผู้ปกครอง (Child talk) 3) Rewind the time: ปลายเทอมให้ทุกฝ่ายมาสะท้อนสิ่งที่อยากพัฒนาและเป้าหมายในอนาคต

รางวัล Honorable Mention Award ได้แก่ ทีม OSSY (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

รายชื่อสมาชิก: กัลยรัตน์ จิระรัตนเมธากร, สาวิตรี มีทรัพย์, พรนภา สิงหเดช และ ณิชารีย์ ศิริวังฆานนท์

สรุปกลยุทธ์การแก้ปัญหา: Short term plan: พัฒนาการประชุมผู้ปกครองด้วย Idea Sharing (เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ โดยไม่ต้องเปิดเผยตัวตน), Career Path Inspiring Session (วิทยากรแชร์ประสบการณ์อาชีพ), นำเว็บไซต์ Tschool มาใช้ให้ผู้ปกครองสามารถดู grade, score report ลูกตัวเองได้, revenue generation project: ให้บุคคลากรจากวิสาหกิจชุมชนมาสอนทักษะเด็กๆ เอาของไปขายบน social media

Long term plan: ทำเว็บไซต์ Tschool ที่่มีการเก็บข้อมูลของนักเรียนและสร้างคลาสน่าสนใจใหม่ๆ เช่น คลาส marketing เขียนโปรแกรม เขียนแบบบ้าน ร่วมมือกับ achieve

รางวัล The Most Creative Award ได้แก่ ทีม Dek Pose Moon (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

รายชื่อสมาชิก: คณวัฒน์ กลิ่นสุคนธ์, อภิชยา โพธิ์ทอง, ลีนวัฒน์ ริ้วธำรงสฤษฏ์ และ ชินพัฒน์ ตั้งอรรถจินดา

สรุปกลยุทธ์การแก้ปัญหา: 1) ทำคู่มืออบรมหลักสูตรแนะแนว 2) จัดทำปฏิทินโรงเรียนเพื่อออกแบบวัน เวลาการเรียน การสอนให้สอดคล้องกับชุมชน ให้ผู้ปกครองร่วมมาออกแบบหลักสูตรของโรงเรียนให้ตรงกับวิถีชีวิตคนในชุมชน 3) เปิดเวทีให้ผู้ปกครอง นักเรียนเสนอรายวิชาใหม่ๆ แนวทางในการพัฒนาโรงเรียน 4) ร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกเพื่อจัดหาบุคลากรมาแนะแนวสายอาชีพ จัดหาผู้ปกครอง