เรื่องเล่าจากห้องเรียน

สะท้อนการเปลี่ยนแปลง สร้างแรงบันดาลใจให้ครูพี่เลี้ยง

งานของครูพี่เลี้ยงไม่ได้หมายถึงการให้คำแนะนำแก่ครูผู้นำฯ เท่านั้น เพราะหลายครั้ง ครูพี่เลี้ยงก็ได้เรียนรู้บางอย่างจากครูผู้นำฯ ด้วย เช่นเรื่องราวของ ครูตู่ ครูหมู และครูติ๊ดตี่ ครูพี่เลี้ยงทั้งสามคนในบทความนี้ “ครูแพรวมีวิธีการสอนที่เข้าใจเด็ก เด็กคนไหนเรียนรู้ได้เยอะก็สนับสนุน เด็กกลุ่มไหนเรียนรู้ช้า ก็จะค่อยๆ สอนจากขั้น 1 ไป 2 ทำให้เด็กตามคนอื่นทัน และไม่หงุดหงิดเวลาเด็กตามไม่ทัน เห็นน้องพยายามเข้าใจความต่างของนักเรียน เราก็คิดว่าบางทีเราก็ไม่เข้าใจเวลาเด็กทำไม่ได้ แต่จริงๆเด็กแค่มีความสามารถในการเรียนรู้ไม่เท่ากัน”

ครูผู้นำฯ ที่สร้างวัฒนธรรมการเปลี่ยนแปลง

“วันแรกผมยังทักอยู่เลยว่า ตัวเล็กๆแบบนี้เด็กจะเกเรใส่มั้ย” ผอ. ศิริพงษ์ จำใช้ ผู้อำนวยการโรงเรียนชิตใจชื่น ขำปนเอ็นดู เมื่อเล่าถึงวันแรกที่ได้เจอกับครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงของ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ “แต่พอได้ไปสอน พลังเสียงเขาแน่นมาก โดยเฉพาะน้องฝน เสียงดังชัดเจน คุมเด็กๆได้” โรงเรียนชิตใจชื่นที่ ผอ. ศิริพงษ์ดูแลอยู่ ตั้งอยู่ในจังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดเล็กๆทางภาคตะวันออกที่ได้รับเลือกให้เป็นจังหวัดยุทธศาสตร์ ที่ร่วมมือกับ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์อย่างเหนียวแน่น ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ได้ส่งครูผู้นำไปยังจังหวัดนี้มาแล้วหลายรุ่น และโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุงอีกโรงเรียนหนึ่งในพื้นที่นี้ ก็ได้ทำงานกับครูผู้นำฯมาแล้ว 2 รุ่น คือ รุ่น 7 และรุ่น 9

ครูสร้างครู

“เราเข้าใจว่าความลำบากมันเป็นยังไง เพราะเราลำบากมาก่อน” เป็นเหตุผลที่ดึงดูดให้ ฝน-บุปผา พงศ์ชนะ ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่น 9 ได้มารู้จักกับ แพรวรุ่ง แม้นรัตน์ และ กนกวรรณ วินัย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนชิตใจชื่น ที่เธอทราบมาว่าครอบครัวของนักเรียน 2 คนนี้มีความยากจนอย่างมาก

นักออกแบบเพื่อเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทย

สมัยเรียนอยู่ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต้น-สรรสร้าง ช่วยชู ได้มีโอกาสทำค่ายอาสาที่โรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล และได้รู้จักกับปัญหาการศึกษาในรูปแบบต่างๆ ทั้งนักเรียนที่เสี่ยงหลุดออกจากระบบการศึกษา เพราะไม่เข้าใจว่าจะเรียนไปเพื่ออะไร โรงเรียนที่ไม่มีทั้งงบและไม่มีทั้งครู และครอบครัวที่ไม่สามารถสนับสนุนให้ลูกหลานเรียนสูงได้ เพราะไม่มีกำลังทรัพย์ เมื่อได้เห็นภาพสะท้อนของปัญหาการศึกษาไทยในเบื้องต้นแล้ว ต้นจึงเกิดความสงสัยและเข้าร่วมโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 8 เพื่อหาต้นตอของความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาไทย

เดินออกจากพื้นที่ปลอดภัย เพื่อเติบโตและพัฒนาตัวเอง

ก่อนหน้าที่จะมาเข้าร่วมโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับมูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์นั้น ปัทม์-รุจิกร พันธรักษ์ ยอมรับตามตรงว่าเป็นคนไม่ชอบความท้าทาย และมักจะทำสิ่งเดิมๆ ที่ตัวเองถนัดเสมอมา แต่หลังจากที่เรียนจบและได้รู้จักกับโครงการผู้นำฯแล้ว ปัทม์ก็ฉุกคิดขึ้นมาได้ว่า หากชีวิตนี้ไม่ลองท้าทายตัวเอง ไม่ลองกล้าออกจากพื้นที่ปลอดภัย เขาก็จะไม่มีการเติบโตและการพัฒนาใดๆ ยิ่งเมื่อได้ไปศึกษารายละเอียดโครงการผู้นำฯ และพบว่ามีแนวทางในการพัฒนาภาวะความเป็นผู้นำผ่านการเป็นครูโดยไม่จำเป็นต้องจบครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์แล้วด้วย ปัทม์จึงไม่รอช้า ส่งใบสมัครเข้ามาเป็นหนึ่งในครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 8 ทันที

จากคณะเศรษฐศาสตร์ สู่ครูคณิตศาสตร์ ผู้สร้างแรงบันดาลใจ

สมัยเรียนอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น ซิวเวอร์-ณัฐพงษ์ ปฐมพรชัยวงษ์ มีโอกาสได้ออกค่ายอาสาเพื่อทำงานกับเด็กในจังหวัดต่างๆอยู่บ่อยครั้ง และเขาพบว่ามีเด็กอีกมากมายที่ยังหาตัวเองไม่เจอ ซึ่งประสบการณ์นี้ทำให้เขาต้องย้อนคิดถึงประสบการณ์ของตัวเขาเอง ผู้ซึ่งกว่าจะเข้าใจถึงความสำคัญในการค้นหาตัวเอง ก็เมื่อเรียนจบปริญญาตรีไปแล้ว “ผมก็เป็นคนนึงที่เรียนตามสังคมบอกมา ตอนเลือกคณะนี่แทบไม่ได้เลือก ผมเลือกตามเพื่อน เผอิญสอบได้ก็เรียนมา แต่ก็เริ่มสงสัยว่าทำไมเราไม่ได้ค้นหาตัวเองตั้งแต่ตอนเรียนนะ ทำไมไม่มีใครมาบอกเรา เลยรู้สึกว่าอยากจะเป็นคนคนนั้นให้นักเรียน ที่ช่วยให้เด็กรู้ว่าโลกนี้มันกว้างใหญ่แค่ไหน แล้วตัวตนของเขาควรจะอยู่ตรงไหนในโลกใบนี้” หน้าที่หลักของซิวเวอร์ในค่ายอาสาจึงเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กๆ ซึ่งเขาพบว่า “เราชอบอะไรแบบนี้ พอได้เห็นประกายในตาเด็กแล้วมันมีความสุข”

โรงเรียนเปลี่ยนได้ เริ่มจากการรับฟังและพัฒนาอย่างเป็นระบบ

ในกิจกรรมสร้างวิสัยทัศน์ร่วม (Collective Vision) ที่โรงเรียนวังเหนือวิทยา จังหวัดลำปาง นับเป็นโอกาสที่ดีที่ผู้จัดการศึกษาของโรงเรียน เช่น ผู้อำนวยการ ครู ผู้บริหารด้านการศึกษา จะได้รับฟังเสียงจากนักเรียน ผู้ปกครอง และคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อขับเคลื่อนให้โรงเรียนพัฒนาต่อได้ กิจกรรมนี้จัดขึ้นในวันที่ 21 มีนาคม 2566โดยมี ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ เป็นผู้อำนวยความสะดวก

ให้โรงเรียนเป็นพื้นที่ปลอดภัย ตอบโจทย์ในใจนักเรียน

ในการทำงานกับโรงเรียนและชุมชน ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ได้ลงมือจัดกิจกรรมสร้างวิสัยทัศน์ร่วม (Collective Vision) อย่างต่อเนื่อง กิจกรรมนี้จัดขึ้นเพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสีย ตั้งแต่ระดับนักเรียน ผู้ปกครอง ครู ผู้บริหารโรงเรียน และคนในชุมชน ได้ออกความเห็นเกี่ยวกับภาพการศึกษาที่ตนเองอยากให้เป็น

จากเด็กสายช่างสู่ผู้ชนะโครงงานวิทยาศาสตร์

ในฐานะครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 8 จิรชัย แสวงแก้ว หรือ ก้านตอง ไม่ได้มีบทบาทหน้าที่แค่การเป็นครูสอนวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เท่านั้น เพราะโรงเรียนเสด็จวนชยางค์กูลวิทยา ได้มอบหมายให้ก้านตองได้สอนในรายวิชา Independent Study (IS) ซึ่งเป็นวิชาที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าในหัวข้อที่ตนเองสนใจ และทำการทดลองหรือลงมือทำด้วยตนเอง และวิชานี้เองก็ได้นำพาให้ก้านตองมารู้กับเด็กที่เรียนทางสายช่างกลุ่มหนึ่ง ผู้ซึ่งยังไม่ประสบความสำเร็จกับการทำโครงงานชิ้นนี้เสียที