ติดตามข่าวสาร

อากาศโลกเปลี่ยนไว เทคโนโลยีเปลี่ยนตลาดแรงงาน: การศึกษาต้องพร้อมรับมือ

เด็กไทยต้องเตรียมตัวเผชิญการเปลี่ยนแปลงมากมายในอนาคตอันใกล้ ทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงาน อันเป็นผลมาจากพัฒนาการของเทคโนโลยี แต่ระบบการศึกษาไทยในปัจจุบัน อาจยังไม่สามารถเตรียมพวกเขาให้พร้อมรับมือสถานการณ์เหล่านี้ได้อย่างเต็มที่

จากความเหลื่อมล้ำสู่การเปลี่ยนแปลง: คุณเองก็สามารถเป็นผู้นำการศึกษาที่สร้างผลกระทบในชีวิตเด็กไทยอีกหลายคนได้

“แม้ว่าเด็กไทยใช้เวลาเรียนเยอะกว่าเด็กประเทศอื่นๆ แต่ยังมีอีกหลายคนที่ยังอ่านหนังสือไม่ออก” คำกล่าวข้างต้นนี้ที่สื่อถึงความน่าเป็นห่วงของระบบการศึกษาไทย ไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด

ครั้งแรกในภาคกลาง กับการคัดเลือกครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงโดยชุมชน

เมื่อวันที่ 1 - 2 กุมภาพันธ์ 2567 ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ได้จัด “โครงการคัดเลือกครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง รุ่นที่ 11 โดยชุมชน” เป็นครั้งแรกของพื้นที่ภาคกลาง นำโดยตัวแทนผู้บริหาร คณะครูจาก 4 โรงเรียนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและนครปฐม ร่วมกับคณะกรรมการจากทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ โดยมีผู้ผ่านการคัดเลือกจำนวน 9 คน ซึ่งจะเข้ารับการอบรมเพื่อเตรียมพร้อมปฏิบัติหน้าที่ สร้างผลกระทบเชิงบวกใน 6 จังหวัดภาคกลางต่อไป

“การสอนคือการสร้างอนาคต (I touch the future, I teach)” – Christa McAuliffe ครูและนักบินอวกาศชาวอเมริกัน

การเป็นครูเป็นมากกว่าแค่การให้ความรู้ แต่คือการเปลี่ยนแปลงนักเรียนจากภายใน ครูที่ดีสามารถช่วยให้นักเรียนบรรลุศักยภาพสูงสุดของตนเอง หรือแม้แต่เปลี่ยนแปลงชีวิตนักเรียนได้ แต่งานของครูนั้นไม่ง่ายและต้องการการสนับสนุนจากทุกฝ่าย เนื่องในโอกาสวันครู ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ขอนำเสนออีกหนึ่งโครงการ ที่สนับสนุนครู เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในห้องเรียนของตนเองได้สำเร็จ

It Takes a Village to Raise a Child

“It takes a village to raise a child” เป็นคำกล่าวที่ทั้งคุณวิชิตพล ผลโภค และคุณสราวุฒิ อยู่วิทยา เอ่ยถึงเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการอบรมครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่น 10 ณ TK Park ห้างเซ็นทรัลเวิร์ล 10 ปีที่ผ่านมาของมูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ทำให้ CEO ขององค์กรอย่างคุณวิชิตพล เข้าใจดีถึงความยากลำบากในการสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและศึกษาของเด็กไทย “การเป็นครูมันไม่ใช่เรื่องที่ง่าย ถ้ามันเป็นเรื่องที่ง่ายเราคงไม่ต้องมี Teach For Thailand การเป็นครูคือการสร้างคนรุ่นใหม่ที่จะพัฒนาตัวเองและพัฒนาสังคมของเราได้ … และเมื่อเข้าไปในโรงเรียน มันจะไม่ใช่แค่ครูผู้นำฯคนเดียวที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตนักเรียน มันต้องร่วมมือกับผู้ปกครอง กับครูคนอื่น กับผอ. กับชุมชน”

2 เดือนนี้ ไม่ใช่การอบรมเพื่อให้สอนเป็นอย่างเดียวแต่อย่างใด

การแก้ไขปัญหาการศึกษาไทยนั้น เป็น “งานช้าง” แน่นอนว่าคุณภาพและจำนวนของครูก็ส่วนหนึ่ง แต่อุปสรรคทางการศึกษาของเด็กไทยส่วนใหญ่มีมากมายหลายมิติ หากหลักสูตรไม่ร่วมสมัย ครูสอนเก่งแค่ไหน เด็กก็ไม่สามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ หากระบบขนส่งสาธารณไม่ดี (หรือไม่มี) เด็กก็ไม่สามารถเดินทางมาโรงเรียนได้ หรือหากเศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาลง พ่อแม่ก็อาจจำเป็นต้องให้ลูกมาช่วยทำมาหากิน ฉะนั้น ไม่ใช่ว่าการมีครูที่สอนเก่งในจำนวนเพียงพอแล้วจะแก้ไขปัญหาการศึกษาไทยได้ เราจึงมองว่าการแก้ปัญหาการศึกษาไทยต้องอาศัย “ผู้นำ”

หนึ่งวันที่บริษัทสวารอฟสกี้ แมนูเฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย)

เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2566 มูลนิธิ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์และมูลนิธิสวารอฟสกี้ร่วมจัดกิจกรรมทัศนศึกษาที่บริษัทสวารอฟสกี้ แมนูเฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ ปีที่ 3 จำนวน 20 คน จากโรงเรียนวิเชียรกลิ่นสุคนธ์อุปถัมภ์ และโรงเรียนวังน้อย พนมยงค์วิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงจากมูลนิธิฯ จำนวน 5 คน ที่ได้รับการสนับสนุนจากทางมูลนิธิสวารอฟสกี้ในครั้งนี้ด้วย

ทุนวิจิตรพงศ์พันธุ์ เพื่อส่งเสริมศาสนา การศึกษาและสังคม สนับสนุนมูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์เป็นปีที่ 5

เพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาไทย มูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ มีภารกิจในการสร้าง "ผู้นำ" ผู้ซึ่งจะนำเอาความเข้าใจในปัญหาศึกษา และ ภาวะความเป็นผู้นำที่ได้พัฒนาจากประสบการณ์การเป็นครูในโรงเรียนจริง มาสร้างการเปลี่ยนแปลงร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชนหลังจากจบโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลง

มูลนิธิไอวีแอล หรือ IVL Foundation (IVLF) มอบเงินสนับสนุนให้ มูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ติดต่อกันเป็นปีที่ 3

มูลนิธิไอวีแอล หรือ IVL Foundation (IVLF) ยังคงมุ่งมั่นที่จะสร้างความเท่าเทียมให้แก่การศึกษาไทยร่วมกับมูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 โดยในปีนี้นั้น IVLF ได้บริจาคเงินเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลงเป็นจำนวน 300,000 บาท