จากความเหลื่อมล้ำสู่การเปลี่ยนแปลง: คุณเองก็สามารถเป็นผู้นำการศึกษาที่สร้างผลกระทบในชีวิตเด็กไทยอีกหลายคนได้

“แม้ว่าเด็กไทยใช้เวลาเรียนเยอะกว่าเด็กประเทศอื่นๆ แต่ยังมีอีกหลายคนที่ยังอ่านหนังสือไม่ออก” คำกล่าวข้างต้นนี้ที่สื่อถึงความน่าเป็นห่วงของระบบการศึกษาไทย ไม่ได้กล่าวเกินจริงแต่อย่างใด

     มีผลวิจัยจากหลายสถาบันได้รายงานถึงประเด็นเดียวกันนี้ เช่น ผลสำรวจจากหน่วยงาน กสศ.ร่วมกับธนาคารโลกในการสำรวจประชากรช่วงอายุ 15-64 ปี พบว่า การศึกษาไทยขาดประสิทธิภาพในการสร้างคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้คนในหลากหลายมิติ อาทิ มีทักษะทุนชีวิตที่ต่ำกว่าเกณฑ์ถึง 64.7% อ่านไม่ออกมากถึง 74.1% ขาดทักษะด้านดิจิทัล และมีทักษะทางอารมณ์และสังคมที่ต่ำกว่าเกณฑมากถึง 30.3% ซึ่งส่งผลต่อปัญหาสุขภาพจิตโดยตรง) โดยการขาดทักษะที่จำเป็นดังกล่าว ส่งผลเสียตั้งแต่ระดับบุคคล ไปจนถึงระดับประเทศ เช่น อ่านฉลากยาไม่ออก ไม่สามารถพึ่งพาตนเองในการทำธุรกรรม หรือ การเรียนรู้เพิ่มเติมได้ รวมไปถึงประเทศไทยสูญเสียศักยภาพแรงงานที่มีทักษะ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นตัวขยายความเหลื่อมล้ำทั้งทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของคน โดยทั้งหมดมีรากฐานมาจากคุณภาพของระบบการศึกษาที่ไม่เท่าเทียมกัน

     หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มองเห็นปัญหาความเหลื่อมล้ำในระบบการศึกษา และเห็นผลที่ตามมาในระยะยาวทั้งระดับปัจเจก ไปจนถึงระดับประเทศ 

     อาจถึงเวลาแล้วที่จะลุกขึ้นมาลงมือทำมาเป็นหนึ่งในสมการการแก้ปัญหาระบบการศึกษาไทย เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนอีกเป็นจำนวนมาก ผ่านมือของคุณ และเป็นส่วนช่วยภาพรวมของประเทศ

     ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ มุ่งมั่นลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาผ่านการสร้าง “เครือข่ายผู้นำ” ที่เข้าไปสร้างการเปลี่ยนแปลงในห้องเรียน โรงเรียน และในภาคส่วนต่างๆ ของสังคม ซึ่งตรงกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustanable Development Goals: SDGs) ในเป้าหมายที่ 4 คือการสร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต  ผ่าน “โครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Fellowship Program)” โครงการที่เปิดโอกาสให้คุณเข้าไปสัมผัสกับปัญหาการศึกษาและได้ออกแบบทางออกของปัญหาอย่างสร้างสรรค์ด้วยตัวของคุณเองอย่างแท้จริงเป็นระยะเวลา 2 ปีเต็มในโรงเรียนขยายโอกาสผ่านบทบาทของ “ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง” 

     พื้นที่ท้าทายนั้นเรียกร้องให้เราเป็นผู้นำที่ต้องเข้าใจ ปัญหาก่อนที่จะเริ่มแก้ปัญหาเข้าถึงชุมชนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวของเพื่อช่วยแก้ปัญหา และพัฒนาทั้งตัวเองและผู้อื่นไปพร้อมกัน ซึ่งเมื่อจบโครงการฯ แล้ว การเปลี่ยนแปลงยังดำเนินต่อไป โดยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและ “ศิษย์เก่าฯ” จะช่วยผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการศึกษาจากทั้งในและนอกระบบต่อไป

แล้วคุณอาจจะพบว่าคุณสามารถเป็นผู้นำในห้องเรียนที่…

..สร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนอยากอ่านหนังสือเป็นครั้งแรก ผ่านการจัดกิจกรรมพัฒนาการอ่านที่สนุกและเกิดประโยชน์

..นำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้าไปเปิดโลกแห่งการเรียนรู้ของนักเรียนที่อาจจะเสพติดโซเชียลมีเดีย และไม่เท่าทันภัยโลกออนไลน์ ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง และเรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในทางที่ถูกต้องและส่งเสริมคุณภาพชีวิตมากขึ้น

..เป็น “พื้นที่ปลอดภัย” ให้นักเรียนที่แรก ที่สามารถรับฟังอย่างไม่ตัดสิน เข้าใจความแตกต่างของนักเรียนรายบุคคล ส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตัวเองของนักเรียนจนเกิดความเปลี่ยนแปลงในตนเองได้ 

เพราะ “การศึกษาเป็นเรื่องของพวกเราทุกคน” (Education is everyone’s responsibility) 

เริ่มสร้างการเปลี่ยนแปลงผ่านการลงมือทำได้ตั้งแต่วันนี้ กับ “โครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 11” ที่: https://tft-fellowship.org จนถึงวันที่ 16 มิถุนายน 2567