ทุกการ
เปลี่ยนแปลง
มีเรื่องราว

รวบรวมเรื่องเล่าจากห้องเรียน
โดยคุณครูทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ และสมาชิก
ในชุมชนของเรา ข่าวสาร และกิจกรรม

ทุกการ
เปลี่ยนแปลง
มีเรื่องราว

รวบรวมเรื่องเล่าจากห้องเรียน
โดยคุณครูทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ และสมาชิก
ในชุมชนของเรา ข่าวสาร และกิจกรรม

ทุกการ
เปลี่ยนแปลง
มีเรื่องราว

รวบรวมเรื่องเล่าจากห้องเรียน
โดยคุณครูทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ และสมาชิก
ในชุมชนของเรา ข่าวสาร และกิจกรรม

ติดตามข่าวสารการศึกษา

มูลนิธิไอวีแอล หรือ IVL Foundation (IVLF) มอบเงินสนับสนุนให้ มูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ติดต่อกันเป็นปีที่ 3

มูลนิธิไอวีแอล หรือ IVL Foundation (IVLF) ยังคงมุ่งมั่นที่จะสร้างความเท่าเทียมให้แก่การศึกษาไทยร่วมกับมูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 โดยในปีนี้นั้น IVLF ได้บริจาคเงินเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลงเป็นจำนวน 300,000 บาท

หนึ่งวันที่โรงเรียนวัดตะคร้ำเอนกับมูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ และ SC Johnson

ในวันที่ 14 มีนาคมที่ผ่านมานั้น SC Johnson ได้เดินทางไปยังโรงเรียนวัดตะคร้ำเอน จังหวัดกาญจนบุรี ร่วมกับเจ้าหน้าที่พัฒนาความเป็นผู้นำของมูลนิธิฯ เพื่อเยี่ยมชมห้องเรียนวิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยม 1 ของครูน้อง-กนกวรรณ รอดประสิทธิ ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่น 9

เรื่องเล่าจากห้องเรียน

Hack Thailand 2575: คลุกวงในกับปัญหา เพื่อพัฒนาอย่างรู้จริง

สิ่งหนึ่งที่ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงหลายคนสะท้อนออกมาอย่างชัดเจน ว่าได้รับจากการทำงานเป็นครู 2 ปี ก็คือ “การได้เข้าไปเห็นปัญหาการศึกษาจริงๆ” จากเด็กระดับหัวกะทิในมหาวิทยาลัยชั้นนำที่ไม่เคยคลุกคลีกับการศึกษาในโรงเรียนที่มีปัญหา พวกเขาได้ลงพื้นที่และคลุกวงในกับปัญหา จนมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า “ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา มีความหมายว่าอย่างไร”

2 ปีสู่ความเข้าใจถึงต้นต่อปัญหาการศึกษาไทยที่แอบไว้ใต้พรม

ดนย์-พัทธดนย์ บุตรไชย มีความฝันว่าอยากจะเป็นครูมาตั้งแต่ไหนแต่ไร เพราะเขาได้รับแรงบันดาลใจจากครูท่านหนึ่ง ผู้ซึ่งพลิกชะตาชีวิตของเด็กหลังห้องอย่างตัวเขาเอง ผ่านการใส่ใจและรับฟัง ดนย์จึงมีความรู้สึกว่าคนเป็นครูนั้น มีความสำคัญโดยเฉพาะยิ่งต่อเด็กที่มีปัญหา “นี่คือสิ่งที่เราอยากเป็นในอนาคต เราอยากเป็นคนแบบนี้ ที่อยู่กับเด็กแบบนี้”

ทุกอุปสรรคคือโอกาสสร้างงานพัฒนา

ครูน็อต ว่าที่ ร.ต. พงศกร ประยงค์รักษ์ ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงของ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ รุ่นที่ 9 เพิ่งลงพื้นที่สอนในโรงเรียนมาได้กว่าครึ่งปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ทำให้เขารู้ตัวว่าจะปักหลักอยู่ตรงนี้ เพราะได้สร้างคนรุ่นใหม่ที่เป็น “ทีม” ของตัวเองไว้แล้ว และทำให้เขาเชื่อว่าเด็กทุกคนมีศักยภาพที่จะก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆ ด้วยตัวเองอย่างน่าทึ่ง

งานที่ทำให้อยากตื่นมาทำในทุกๆวัน

นอกเหนือจากความรู้เกี่ยวกับศาสนาและปรัชญาแล้ว สิ่งที่มะนาว-ชาลินี นินนานนท์ ได้จากวิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล คือความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับบริบทปัญหาในสังคม ซึ่งเมื่อเธอได้มารู้จักกับโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลง ที่มีเป้าหมายในการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมปัจจุบัน มะนาวจึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการผู้นำฯทันที

อีกทางเลือกของนักปรัชญา

ก่อนที่จะมาเป็นครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 8 นั้น หลิน-ศุภนุช บุรินทร์ธนฉัตร เคยทำงานอยู่ในโรงเรียนนานาชาติจนเห็นระบบการศึกษา หลักสูตร และการดูแลติดตามนักเรียนที่ทำให้หลินตั้งคำถามว่า ทำไมเธอถึงไม่ได้สิ่งเหล่านี้สมัยที่เธอเรียนมัธยม? จนเมื่อวันหนึ่งที่เธอได้รู้จักโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลง และเป้าหมายของมูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ในการทำให้เด็กทุกคนมีความรู้ ทักษะ เจตคติและโอกาสต่างๆ ที่เอื้อให้พวกเขากำหนด อนาคตของตนเองและครอบครัวได้นั้น หลินจึงไม่รอช้าและตัดสินใจสมัครเข้าร่วมโครงการผู้นำฯทันที

ห้องเรียนผู้กล้า

โค้ก-เทอดศักดิ์ ขจรบุญ เป็นอีกตัวอย่างของครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีทั้งปริญญาตรี และปริญญาโท จากคณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พร้อมประสบการณ์การทำงานหลากหลายกว่า 10 ปี แต่สุดท้ายโค้กก็ยังเลือกที่จะมาร่วมโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่น 8

เรื่องเล่าจากศิษย์เก่า

บ่มเพาะทักษะผู้นำ ทำงานได้ในทุกองค์กร

ทักษะความเป็นผู้นำ และทักษะอื่นๆที่ได้จากการเป็นครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง เป็น Soft Skill ที่สามารถประยุกต์ใช้ได้ทุกที่ ศิษย์เก่าของ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์หลายคนได้นำทักษะเหล่านี้ไปใช้กับงานต่างๆ ในบทความนี้ เราจะมาทำความรู้จักศิษย์เก่า 2 คน คือ คุณทิพย์ และ คุณเผอิญ ที่ทำงานในบริษัทเอกชน และได้นำประสบการณ์จากการลงพื้นที่ 2 ปี ไปใช้พัฒนางานของพวกเธอ

เดินออกจากพื้นที่ปลอดภัย ก้าวข้ามขีดจำกัด เพื่อค้นหาตัวเอง

ที่จริงแล้วเส้นทางการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงของ ปอย-ธัญญาภรณ์ ศรีดวงจันทร์ นั้นเต็มไปด้วยความบังเอิญ ปอยไม่ได้เริ่มต้นด้วยการมองตัวเองว่ามีความเป็นผู้นำเสียเท่าไรนัก การสมัครเข้าร่วมโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลงเป็นเพียงกิจกรรมที่เธอทำร่วมกับเพื่อนในช่วงที่เพิ่งศึกษาจบจากคณะวิทยาศาสตร์ สาขาสถิติจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ปอยไม่ได้คาดหวังว่าจะผ่านการคัดเลือก แต่ทีมงานมูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์กลับเล็งเห็นถึงศักยภาพที่ซ่อนอยู่ในตัวเธอ ทำให้เธอผ่านกระบวนการคัดเลือกสุดเข้มข้นในท้ายที่สุด

ล้อมวงศิษย์เก่าทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ถกประเด็นการศึกษาไทยร่วมกับกรุงเทพมหานคร

“ถ้าไปทำงานอื่น คงไม่ได้กลับมาแล้ว” เป็นเหตุผลว่าทำไม เมี่ยว -ศิรินทร์ ตั้งพรไพบูลย์ ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 2 เมี่ยวมองว่าการเป็นครูผู้นำนั้น นอกจากจะได้ทำอะไรที่ท้าทาย และตอบโจทย์ความสนใจในการศึกษาส่วนตัวแล้วนั้น ยังเป็นการพัฒนาความเป็นผู้นำของตัวเองที่จะเพิ่มโอกาสในการก้าวกระโดดในอาชีพการงานในอนาคต ดังนั้น เมื่อจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะเศรษฐศาสตร์ ภาคอินเตอร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้วนั้น เธอจึงไม่ลังเลที่จะเข้าร่วมโครงการทันที

จากครู (ผู้นำการเปลี่ยนแปลง) สู่ด็อกเตอร์

“ถ้าไปทำงานอื่น คงไม่ได้กลับมาแล้ว” เป็นเหตุผลว่าทำไม เมี่ยว -ศิรินทร์ ตั้งพรไพบูลย์ ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 2 เมี่ยวมองว่าการเป็นครูผู้นำนั้น นอกจากจะได้ทำอะไรที่ท้าทาย และตอบโจทย์ความสนใจในการศึกษาส่วนตัวแล้วนั้น ยังเป็นการพัฒนาความเป็นผู้นำของตัวเองที่จะเพิ่มโอกาสในการก้าวกระโดดในอาชีพการงานในอนาคต ดังนั้น เมื่อจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะเศรษฐศาสตร์ ภาคอินเตอร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้วนั้น เธอจึงไม่ลังเลที่จะเข้าร่วมโครงการทันที

สร้างการเปลี่ยนแปลงในแบบของตัวเอง

แม้ จ๋าแพรวพรรณ วาสวกุล จะจบการศึกษาปริญญาตรีจากคณะศิลปศาสตร์ เอกอังกฤษ-อเมริกันศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งไม่ได้เป็นคณะที่มีความเกี่ยวข้องกับการศึกษาโดยตรง แต่จ๋ากลับร่วมหลากหลายกิจกรรมที่สร้างบันดาลใจให้เธอเข้าสู่วงการการศึกษาตั้งแต่สมัยอยู่มหาวิทยาลัย

Parents’ Voice: ครอบครัว “ครูผู้นำ” บันดาลใจ

ก่อนจะเข้าไปเป็นครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง ผู้สมัครหลายคนต้องสื่อสารให้ครอบครัวรู้เป็นอันดับแรก ว่ามีความตั้งใจจะเข้าไปคลุกกับปัญหาการศึกษาไทยเป็นระยะเวลา 2 ปี และเนื่องจากการลงพื้นที่ของครูผู้นำฯ ไม่ใช่งานสบายนัก ผลตอบรับที่ได้จึงมีทั้งในเชิงสนับสนุนและไม่สนับสนุน