การศึกษาที่ดี
ไม่ควรขึ้นกับ
โชคชะตา
เด็กไทยจำนวนไม่น้อยไม่ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ
เพราะเพียงเกิดมาในครอบครัวที่ยากจน ทำให้เด็ก
เหล่านั้นไม่แม้แต่จะเชื่อว่าพวกเขาสามารถกำหนด
อนาคตให้แก่ตัวเองและรอบข้างได้
การศึกษาที่ดี
ไม่ควรขึ้นกับ
โชคชะตา
เด็กไทยจำนวนไม่น้อยไม่ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ
เพราะเพียงเกิดมาในครอบครัวที่ยากจน ทำให้เด็ก
เหล่านั้นไม่แม้แต่จะเชื่อว่าพวกเขาสามารถกำหนด
อนาคตให้แก่ตัวเองและรอบข้างได้
การศึกษาที่ดี
ไม่ควรขึ้นกับ
โชคชะตา
เด็กไทยจำนวนไม่น้อยไม่ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ
เพราะเพียงเกิดมาในครอบครัวที่ยากจน ทำให้เด็กเหล่านั้นไม่แม้แต่จะเชื่อว่าพวกเขาสามารถกำหนด
อนาคตให้แก่ตัวเองและรอบข้างได้
ทฤษฎีปัญหา
ปัญหาการศึกษานับว่าเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนในหลายมิติทุกปัจจัยก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมสำคัญในระบบการศึกษา ส่งผลให้เด็กไทยไม่ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์แบ่งปัญหาออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้
การให้การศึกษา
เช่น ทรัพยากรและ บุคคลากรในโรงเรียน คุณภาพการสอน
ปัจจัยภายนอก ที่กระทบการศึกษา
เช่น เทคโนโลยีและ โครงสร้างพื้นฐาน สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้
การบริหารหรือภาครัฐ
เช่น การบริหารจัดการงานทั่วไป นโยบายทางการศึกษา
การร่วมมือของเครือข่าย
ผู้ปกครอง คนในชุมชน
แต่จริง ๆ แล้ว วัฎจักรของปัญหา มีสาเหตุที่ลึกกว่านั้น
ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ความยากจน การ เปลี่ยนแปลงสถานะทางสังคมที่จำกัด และ/หรือ โครงสร้างทางการเมืองและประวัติศาสตร์ ฯลฯ ล้วนเป็นอุปสรรคสำคัญในชีวิตของเด็กนักเรียนและผู้คนกลุ่มใหญ่ในสังคมไทย
ปัจจัยด้านระบบ
ระบบการศึกษาไม่ได้ออกแบบมาให้นักเรียนทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษา ที่มีคุณภาพ หรือ โรงเรียนขาดความสามารถ ในการพัฒนา ทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อการกำหนดอนาคต ของชีวิตพวกเขา
ปัจจัยด้านความเชื่อ
ผู้คนไม่เชื่อว่าปัญหาต่างๆ ด้านการศึกษาไทย สามารถแก้ไขได้ หรือความเสมอภาคและความ เท่าเทียมทางการศึกษาเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ รวมทั้งความเชื่ออื่นๆ เช่น หากเกิดมาจน ชีวิตก็คงเป็นได้เท่านั้น ผู้คนไม่ตระหนักถึง ความรุนแรงของปัญหาและมองว่าความไม่ เท่าเทียมคือเรื่องธรรมดาของชีวิต
วิสัยทัศน์ของเรา
“สักวันหนึ่ง เด็กไทยทุกคนจะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกัน
เพื่อให้พวกเขาสามารถกำหนดชะตาชีวิตได้ด้วยตนเอง”
โดยในปี พ.ศ. 2583 เด็กในชุมชน ทุกภูมิภาคทั่วประเทศจะมีความรู้ ทักษะ เจตคติ และโอกาสต่าง ๆ ที่เอื้อให้พวกเขากำหนดอนาคต
ของตนเองและครอบครัวได้ รวมทั้งเติบโตเป็นพลเมืองที่มุ่งเน้นความเป็นธรรมให้แก่ชุมชนของตนเองสืบไป
วิสัยทัศน์ของเรา
“สักวันหนึ่ง เด็กไทยทุกคนจะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกัน
เพื่อให้พวกเขาสามารถกำหนดชะตาชีวิตได้ด้วยตนเอง”
โดยในปี พ.ศ. 2583 เด็กในชุมชน ทุกภูมิภาคทั่วประเทศจะมีความรู้ ทักษะ เจตคติ และโอกาสต่าง ๆ ที่เอื้อให้พวกเขากำหนดอนาคต
ของตนเองและครอบครัวได้ รวมทั้งเติบโตเป็นพลเมืองที่มุ่งเน้นความเป็นธรรมให้แก่ชุมชนของตนเองสืบไป
พันธกิจของเรา
เรามุ่งมั่นขจัดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาออกจากประเทศไทยผ่านการสร้าง “เครือข่ายผู้นำ” ที่เข้าไปสร้างความเปลี่ยนแปลงในห้องเรียน โรงเรียน และในภาคส่วนต่าง ๆ ของสังคม
ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง
ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ เป็นส่วนขับเคลื่อนเครือข่ายผู้นํา ที่ทํางานเพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาให้แก่ เด็กไทยทุกคน โดยเรามุ่ง ทำภารกิจดังกล่าวให้ลุล่วงด้วยการสรรหาและพัฒนาศักยภาพเพื่อส่งครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงไปในโรงเรียนที่มีบริบท้าทาย และทำงาน เคียงบ่าเคียงไหล่กับโรงเรียนและชุมชนเป็นเวลา 2 ปี เพื่อให้นักเรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ อันจะช่วยให้พวกเขาสามารถกำหนด อนาคตที่ดีกว่าให้แก่ตนเองและคนรอบข้าง หลังจากจบโครงการ 2 ปี เรามุ่งหวังให้เครือข่ายศิษย์เก่า หรือเครือข่ายผู้นำของเรา เข้าไปร่วมสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาในระยะยาว ผ่านการทำงานในภาคส่วนต่างๆของสังคมต่อไป
เครือข่ายทีช ฟอร์ ออล
(Teach For All)
ทีช ฟอร์ ออล (Teach For All) คือเครือข่ายองค์กรไม่แสวงหากำไรที่มีวิสัยทัศน์ร่วมกันคือ 'สักวันหนึ่งเด็กทุกคนจะได้รับโอกาส ในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกัน' เครือข่าย Teach For All ก่อตั้งขึ้นจากความร่วมมือกันระหว่าง Teach For America (ในสหรัฐอเมริกา) และ Teach First (ในสหราชอาณาจักร) ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มโครงการ “ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง” ปัจจุบันทั้งสององค์กรได้รับการจัดอันดับเป็นหนึ่งในองค์กรที่คนรุ่นใหม่ต้องการร่วมงานด้วยมากที่สุด
ปัจจุบัน Teach For All มีองค์กรสมาชิกใน 61 ประเทศใน 6 ทวีปทั่วโลก โดย Teach For Thailand เป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการ
ที่ 29 ของเครือข่าย
คุณสามารถติดตามข้อมูลของประเทศต่างๆ ในเครือข่ายได้อีกที่เว็บไซต์ Teach For All