10 ปีแห่งการสร้างผลกระทบในวงกว้าง

10 ปีแห่งการเปลี่ยนแปลง เส้นทางที่ผ่านมา และอนาคตของการศึกษาไทย

หนึ่งในช่วงเวลาสำคัญของงานเฉลิมฉลองครบรอบ 10 ปีของมูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายนที่ผ่านมานั้นคือการเสวนาคนในวงการการศึกษาไทยอย่าง ยีราฟ-สรวิศ ไพบูลย์รัตนากร ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นบุกเบิก และ ดร.กาญจน์วรินทร์ ผลอนันต์ หรือครูปัต ผู้อำนวยการ โรงเรียนสาธิตพัฒนา

10 ปีที่ได้เติมเต็มการศึกษา อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ของ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์

จบไปแล้วสำหรับงาน “10 ปีแห่งการเปลี่ยนแปลง” ที่รวมผู้เกี่ยวข้องในทุก ๆ ส่วน ไม่ว่าจะเป็นครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นปัจจุบัน ศิษย์เก่า ผู้บริจาค ผู้บริหาร พนักงาน และบุคคลอื่น ๆ ที่เดินทางมากับเรา แม้ 10 ปีที่ผ่านมาจะมีความท้าทายมากมาย แต่ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ยังคงเดินหน้าต่อด้วยแรงใจจากทุกท่าน

พัฒนาการทางการศึกษาที่จับต้องได้ ขยายผลจากห้องเรียนสู่ชุมชน

“ผอ. ชื่นชมที่ทาง ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ มีวัตถุประสงค์ชัดเจนในการส่งมอบโอกาสดี ๆ ให้โรงเรียน ลดความเหลื่อมล้ำ ทำให้เด็ก ๆ ได้รับโอกาสจากบุคลากรที่มีความรู้ ทัศนคติเชิงบวก และทำให้เห็นการเติบโตของการศึกษาที่จับต้องได้” เสียงสะท้อนจากผู้อำนวยการสาลี่ เชิดชู ผู้อำนวยการโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง จังหวัดปราจีนบุรี ทำให้มองเห็นว่า ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงของ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ได้เข้าไปสร้างความเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนอย่างได้ผลจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านการสร้างแรงบันดาลใจและส่งพลังบวกให้บุคลากรการศึกษาในพื้นที่

“เชื่อ” เพื่อพาก้าวไปข้างหน้า

“แม่เชื่อในตัวลูกนะ” คือคำที่ดิว ธิดามาส เต็มสาร ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 2 บอกกับลีโอในวันที่เขาไม่กล้าจับไมค์ขึ้นพูดบนเวที ประโยคสั้น ๆ นั้น ทำให้ลีโอ เดินหน้าหาเสียงเลือกตั้งประธานนักเรียน และกล้าพูดต่อหน้าที่สาธารณะในที่สุด นิว ทัตติ เจ๊ะมะสุขเกษม และ ลีโอ ธีรพันธ์ ทศสำราญ ได้พบกับครูดิวตอนเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนวัดสามง่าม และประทับใจในความเข้าใจและเข้าถึงนักเรียนของครูดิว วันนี้ ทั้งสองได้ก้าวไปในจุดสำคัญของชีวิต คือการเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัย และหนึ่งในนั้นเลือกที่จะเรียนต่อด้านครูด้วย

เชื่อว่าเป็นไปได้ จุดประกายการเปลี่ยนแปลงในห้องเรียน

หลังจบโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลง 2 ปี ศิษย์เก่าของ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ หลายคน ได้ทำงานขับเคลื่อนการศึกษาต่อ หนึ่งในนั้นคือกลุ่มศิษย์เก่าที่โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ บทความนี้ จะพาไปรู้จักกับส้ม ซัน และแอน ศิษย์เก่ารุ่นที่ 1 ซึ่งทำงานเป็นครูที่นี่มาหลายปีแล้ว เมื่อถามว่าถ้าระบบการศึกษาขาดเราไปสักคน จะเป็นอย่างไร ส้มให้คำตอบไว้อย่างน่าสนใจว่า “ถ้าระบบการศึกษาขาดเราไป จะขาดความเป็นไปได้ใหม่ในระบบการศึกษา โดยส่วนตัวคิดว่า ในทุก ๆ บริบทของสังคมแต่ละที่ มีต้นทุนและความเป็นไปได้ในแบบของตนเอง ในอนาคตความเข้าใจเรื่องการเข้าถึงและการกระจายอำนาจในการบริหารและจัดการศึกษาจะมีมากขึ้น”

เสริมการศึกษาในระบบ ปิดช่องว่างเพื่อเติมเต็มศักยภาพ

“โรงเรียนของผม แก้ปัญหาที่แก้ไม่ได้ในโรงเรียนทั่วไป เช่น นักเรียนอ่านไม่ออก ไม่อยากไปโรงเรียน ไม่รู้จะเลือกอนาคตอย่างไร เป็นเหมือนตัวแทนของปัญหาการศึกษาที่มีอยู่ในระบบ” กรีน กรีนฐิณญาภัทร์ เธียรธานินทร์ ศิษย์เก่า ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ รุ่นที่ 4 ผู้ก่อตั้งและผู้บริหาร THEKREEN: HomeSchool เล่าถึงผลกระทบที่ตัวเองได้สร้าง หลังจบจากโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลง 2 ปี กรีนตัดสินใจกลับไปใช้ชีวิตที่จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นบ้านเกิด และได้เห็นโอกาสพัฒนาการศึกษาในพื้นที่

มองเห็นความเป็นไปได้ ก็เห็นอนาคต

“นักเรียนส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมโครงการตัดสินใจเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัย ทั้งที่ปกตินักเรียนที่โรงเรียนนี้ ถ้ามี 50 คน จะเข้าเรียนต่อชั้น ม. 4 แค่ประมาณ 10 คน” เรื่องเล่าจากศิษย์เก่า ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ รุ่นที่ 1 แข - ภรปภัช พิศาลเตชะกุล ทำให้เราอยากรู้ว่า โครงการที่แขทำคืออะไรและมีผลกระทบเชิงบวกกับนักเรียนมากขนาดนั้นได้อย่างไร ตอนที่เป็นครูผู้นำ ฯ แขสอนที่โรงเรียนวัดสังฆราชา เธอกับเพื่อน ๆ อีก 5 คน ได้จัดโครงการ Learners to Leaders พานักเรียนในความดูแล 25 คน ไปทัศนศึกษาที่สิงคโปร์

ปลูกฝังความกล้า ด้วยความเข้าใจที่แท้จริง

“ถ้าผมเป็นครู ผมก็อยากเข้าไปพัฒนานักเรียนทั้งด้านวิชาการ และคุณลักษณะ เปลี่ยนนักเรียนจากไม่กล้าให้เป็นกล้า เหมือนที่ครูวิ่งทำ” จ๊อบ กิตติภูมิ พลราช นักเรียนของครูวิ่ง ปาณิสรา สุขเสริม ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 3 แบ่งปันความใฝ่ฝันของตนเอง ปัจจุบัน จ๊อบเพิ่งสอบบรรจุเป็นครูได้สำเร็จ และยังเคยผ่านการคัดเลือกเป็นครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงของ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ด้วย แต่จ๊อบเลือกเป็นครูในระบบ จึงไม่ได้เข้าร่วมโครงการต่อ

สาน สร้าง ต่อยอด เครือข่ายเพื่อคนมีใจด้านการศึกษา

“เราเชื่อว่า เรามีส่วนพัฒนาการศึกษาเหมือนกัน ถ้าขาดเราไป อาจจะขาดคนรุ่นใหม่ที่รวมคนจำนวนมากมาช่วยเหลือการศึกษานอกระบบ และเป็นแรงบันดาลใจให้องค์กรด้านการศึกษา” จากความสนใจในปัญหาสังคม ยีราฟ สรวิศ ไพบูลย์รัตนากร ได้ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลง ของ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ รุ่นที่ 1 เขาอยากก่อตั้งกิจการเพื่อเพื่อแก้ปัญหาสังคม และเลือกเจาะจงแก้ไขปัญหาการศึกษา ทุกวันนี้ ยีราฟเป็นผู้บริหารมูลนิธิโรงเรียนวันเสาร์ (Saturday School Foundation) มูลนิธิที่รวมอาสาสมัครเข้ามามีส่วนพัฒนาการศึกษา