อีกทางเลือกของนักปรัชญา

ก่อนที่จะมาเป็นครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 8 นั้น หลิน-ศุภนุช บุรินทร์ธนฉัตร เคยทำงานอยู่ในโรงเรียนนานาชาติจนเห็นระบบการศึกษา หลักสูตร และการดูแลติดตามนักเรียนที่ทำให้หลินตั้งคำถามว่า ทำไมเธอถึงไม่ได้สิ่งเหล่านี้สมัยที่เธอเรียนมัธยม? จนเมื่อวันหนึ่งที่เธอได้รู้จักโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลง และเป้าหมายของมูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ในการทำให้เด็กทุกคนมีความรู้ ทักษะ เจตคติและโอกาสต่างๆ ที่เอื้อให้พวกเขากำหนด อนาคตของตนเองและครอบครัวได้นั้น หลินจึงไม่รอช้าและตัดสินใจสมัครเข้าร่วมโครงการผู้นำฯทันที

ก่อนที่จะมาเป็นครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 8 นั้น หลิน-ศุภนุช บุรินทร์ธนฉัตร เคยทำงานอยู่ในโรงเรียนนานาชาติจนเห็นระบบการศึกษา หลักสูตร และการดูแลติดตามนักเรียนที่ทำให้หลินตั้งคำถามว่า ทำไมเธอถึงไม่ได้สิ่งเหล่านี้สมัยที่เธอเรียนมัธยม?

ก่อนที่จะมาเป็นครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 8 นั้น หลิน-ศุภนุช บุรินทร์ธนฉัตร เคยทำงานอยู่ในโรงเรียนนานาชาติจนเห็นระบบการศึกษา หลักสูตร และการดูแลติดตามนักเรียนที่ทำให้หลินตั้งคำถามว่า ทำไมเธอถึงไม่ได้สิ่งเหล่านี้สมัยที่เธอเรียนมัธยม?

จนเมื่อวันหนึ่งที่เธอได้รู้จักโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลง และเป้าหมายของมูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ในการทำให้เด็กทุกคนมีความรู้ ทักษะ เจตคติและโอกาสต่างๆ ที่เอื้อให้พวกเขากำหนด อนาคตของตนเองและครอบครัวได้นั้น หลินจึงไม่รอช้าและตัดสินใจสมัครเข้าร่วมโครงการผู้นำฯทันที

แนวความคิดเด็กปรัชญา

ปัจจุบันนี้หลินสอนวิชาภาษาอังกฤษอยู่ที่โรงเรียนบ้านหลวง จังหวัดน่าน ซึ่งแม้หลินจะจบจากคณะศิลปศาสตร์ สาขาปรัชญา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่การไม่มีพื้นฐานทางการสอนก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคแต่อย่างใด เพราะมีหลากหลายสิ่งที่หลินได้จากการเรียนปรัชญาที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับบทบาทครูได้ “ก่อนเราจะสอนเรื่องอะไรก็ตาม เราก็ต้องคิดก่อนว่า ก่อนที่จะรู้เรื่องนี้ ควรรู้เรื่องอะไรก่อน แล้วเราก็ย่อยเนื้อหา ว่าหากเราจะอธิบายให้เค้าเข้าใจ เราต้องทำยังไง ทำให้เรียบเรียงเนื้อหาการสอนได้ดีขึ้น ได้ง่ายขึ้น แล้วนักเรียนก็เข้าใจขึ้นเยอะ” หลินยกตัวอย่างแนวความคิดที่เธอนำมาประยุกต์ใช้ในการสอน

จากคนไกลสู่คนใกล้ตัว

หลายคนอาจมองว่าครูผู้นำฯคือผู้ให้ แต่แท้จริงแล้วนั้นมีหลายสิ่งหลายอย่างที่ครูผู้นำฯได้รับจากประสบการณ์จากโครงการผู้นำฯ หลินเล่าว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดที่เธอได้จากเป็นครูผู้นำฯคือการเห็นความสำคัญของความสัมพันธ์ หลินอธิบายว่า ครูผู้นำฯต้องใช้ชีวิตกับทั้ง นักเรียน เพื่อนครู ผู้ปกครอง และชุมชน ซึ่งหากไม่มีความสัมพันธ์ที่ดีแล้ว การอยู่ร่วมกับผู้อื่นจะทำได้ยาก เธอจึงได้เข้าใจว่าการรับฟังและการชะลอการตัดสินผู้อื่น อันจะนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้างนั้นมีประโยชน์อย่างไร ไม่เพียงเท่านี้ ความใจเย็นและการรับฟังผู้อื่นกลายเป็นนิสัยติดตัว ที่เธอนำกลับมาใช้กับเพื่อนและครอบครัว ประหนึ่งว่าประสบการณ์การพัฒนาความสัมพันธ์กับคนไกลตัวนั้น ทำให้เธอสามารถ แก้ไขปัญหา และเห็นความสำคัญของความสัมพันธ์กับคนใกล้ตัวได้อย่างชัดเจน

ทักษะใหม่ประจำวัน

บริบทอันท้าทายในโรงเรียนยังกระตุ้นให้หลินต้องพัฒนาอีกหลากหลายทักษะรายวัน เธอได้เรียนรู้ทักษะการต่อรองเมื่อต้องจัดการกับนักเรียนที่ก้าวเข้าห้องเรียนมาแล้วแต่ขอเรียนแค่ 10 นาที “เราก็ต้องหาทางต่อรองเพื่อให้ห้องเรียนเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ เราต้องเรียนรู้ที่จะหาจุดตรงกลางของความต้องการจากทั้ง 2 ฝ่ายเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด” หลินเล่าถึงเทคนิคการต่อรองของเธอ

 

ความไม่แน่นอน ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เธอต้องใช้หลายทักษะในการแก้ปัญหา ด้วยกิจกรรมต่างๆ เช่น งานโรงเรียน หรือกิจกรรมกลุ่มสาระ ทำให้บางทีเด็กในห้องเรียนของเธอเหลือเพียง 10 คนจาก 30 คน หลินจึงแก้ปัญหาโดยการฝึกเด็ก 10 คนที่เข้าเรียนให้วางแผนเพื่อให้ตัวเองสามารถไปสอนเพื่อนอีก 20 คนที่ไม่เข้าห้องเรียนได้ ซึ่งจากตัวอย่างนี้ตัว หลินได้ทั้งทักษะในการตัดสินใจ ทักษะในการยืดหยุ่นจากแผนเดิมที่วางไว้ และทักษะในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในเวลาเดียวกัน หลินจึงมองว่าเมื่อจบโครงการผู้นำฯแล้ว เธอมั่นใจว่าเธอจะสามารถเรียนรู้งานและปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าเธอจะเลือกทำงานอะไรก็ตามหลังจบโครงการผู้นำฯ

ข้อความถึงครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่เปลี่ยนไป

“ครูอย่าดุพวกผมนะ” คือคำแรกที่นักเรียนพูดกับเธอเมื่อเจอกันครั้งแรก ซึ่งเป็นประโยคที่หลินต้องกลับมานั่งสงสัยว่านักเรียนของเธอต้องเจอมาขนาดไหนก่อนที่จะได้มาเจอเธอ หลินจึงตั้งใจที่จะเป็นครูที่ไม่ดุเด็ก แต่จะใจเย็นและพานักเรียนทุกคนสร้างข้อตกลงของห้องเรียนร่วมกัน เพื่อให้นักเรียนเปิดใจชอบห้องเรียนมากขึ้น ซึ่งมันได้ผลดี เพราะถึงแม้นักเรียนจะไม่ชอบเรียนภาษาอังกฤษ แต่นักเรียนชอบวิธีการของเธอมากพอจนยอมเรียนและพยายามร่วมกับเธอจนจบเทอม  “ขอบคุณครูที่พยายามกับพวกหนู ไม่ตะโกนใส่พวกหนูเลย ไม่ว่าพวกหนูจะดื้อแค่ไหนก็ตาม” จึงเป็นประโยคซึ่งเป็นรางวัลให้กับความตั้งใจของเธอเมื่อจบเทอม

เปิดโลกบ้านหลวง

หลินจำสโลแกนของมูลนิธิฯได้ขึ้นใจ และนำไปตั้งเป็นเป้าหมายในการทำงาน นักเรียนที่เชื่อมั่นว่าตัวเองจะสามารถกำหนดชะตาชีวิตของตัวเองได้ จึงเป็นสิ่งที่หลินอยากเห็นก่อนเดินออกจากโรงเรียนบ้านหลวงในปลายเทอมหน้า และเพื่อให้ภาพดังกล่าวเป็นจริง หลินและเพื่อนครูผู้นำฯจึงวางแผนทำโครงการแนะแนวเพื่อเปิดโลกให้เด็กๆบ้านหลวงมองเห็นว่าอนาคตของพวกเขามีทางเลือกมากมาย หลินเล่าว่า “เค้าไม่ค่อยได้ออกไปข้างนอก โลกทั้งใบของเค้ามันมีอยู่แค่ในอำเภอบ้านหลวง การเปิดโลกเลยมีความหมายมากๆ” และหลินเชื่อว่าหากเด็กๆมองเห็นทางเลือกและเห็นถึงความเป็นไปได้ของชะตาชีวิตของตัวเองแล้ว จะเกิดความหวังและความมั่นใจในการเลือกเส้นทางอนาคตของตัวเอง

งานในฝันของคนอยากพัฒนาตัวเอง

สำหรับคนที่สนใจสมัครโครงการผู้นำฯ หลินแนะนำว่า “มันจะเป็นงานในฝันมากๆ ถ้าคุณอยากพัฒนาตัวเองแบบก้าวกระโดด … เพื่อเรียนรู้ทักษะ เรียนรู้ตัวเอง เพื่อทำประโยชน์หรือตามหาความหมายในสิ่งที่คุณทำ กัดฟันสู้กับเงิน 18,000 นี้ มันคุ้มค่ามากๆ” ส่วนคนที่เรียนสาขาปรัชญามานั้น เธอมองว่า “หากอยากลองใช้ในสิ่งที่เรียนมาให้เกิดประโยชน์สูงสุด อยากให้ลองมาสัมผัสด้วยตัวเอง แล้วจะรู้เลยว่าสิ่งที่เรียนมาสามารถใช้งานได้จริงๆ”

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับการเปลี่ยนแปลงอนาคตการศึกษาไทย นักเรียนไทยนับร้อยและตัวคุณ ผ่าน ‘โครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลง’ เป็นระยะเวลา 2 ปี ผ่านการสอน และ ทำงานร่วมกับเครือข่าย โรงเรียน ชุมชน ผู้ปกครอง 

สมัครได้แล้วตั้งแต่วันนี้ที่…https://tft-fellowship.org