เรื่องเล่าจากห้องเรียน

ทักษะจากโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่จะพาคุณ ?รอด?ในทุกสถานการณ์

แรกเริ่มนั้นฟร้องหวังเพียงแค่ไปได้เข้าอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพตัวเอง แต่เมื่อได้ศึกษาข้อมูล และวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างละเอียดแล้วนั้น เธอพบว่าโครงการนี้ตอบโจทย์และหลายคำถามคาใจที่เธอมีตลอดมา โดยเฉพาะในมุมของการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เพราะฟร้องเองก็เป็นอีกหนึ่งในคนที่ได้ประสบปัญหาดังกล่าวมากับตัว ?เราเป็นเด็กต่างจังหวัดคนหนึ่งที่ทุก Summer เราต้องบินมาเรียนที่กรุงเทพ เพื่อที่จะให้ตัวเองได้มีความรู้เท่ากับคนที่อยู่ในเมือง เราก็เลยมี Question mark ในหัวตลอดเวลาว่า หลักสูตรก็เหมือนกันทั้งประเทศ แต่ทำไมเราถึงเรียนไม่เหมือนกัน เราก็เลยอยากที่จะเอาตัวเองไปเป็นส่วนหนึ่งในการเป็นสื่อกลางในฐานะคนที่เคยได้รับความรู้จากมหาวิทยาลัยในกรุงเทพและจากการเป็นติวเตอร์ในกรุงเทพ อยากให้เด็กนักเรียนทุกคนได้เรียนเหมือนกับที่เด็กในกรุงเทพได้เรียนโดยที่ไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม? ซึ่งพอคิดได้อย่างนี้แล้ว ฟร้องจึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการนี้ทันทีทันใด

ศิลปินในร่างครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง

เนื่องจากแพรว-วรัทยา ไชยศิลป์โตมากับคุณแม่ที่ทำงานด้านการพัฒนาเยาวชน แพรวจึงคุ้นเคยกับการเห็นเด็กที่อยู่ในสภาวะที่ท้าทายในรูปแบบต่างๆมากมาย แต่เมื่อได้มีโอกาสเป็นครูสอนพิเศษสอนในช่วงเวลาสั้นๆหลังเรียนจบ แพรวกลับพบว่าเด็กนักเรียนของแพรวนั้นมาจากครอบครัวที่มีฐานะ และมีชีวิตที่แตกต่างจากเด็กๆที่คุณแม่ทำงานด้วยอย่างสิ้นเชิง ?ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา? จึงเป็นสิ่งค้างคาอยู่ในใจแพรว จนวันหนึ่งที่แพรวบังเอิญได้มารู้จักกับโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลงผ่านทาง Facebook แพรวจึงตัดสินใจลองดูสักตั้ง

2 ปีที่แสนทรงพลังและคุ้มค่าเกินราคาค่าตัว

ระหว่างศึกษาอยู่ที่คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทักทาย-อัฎฐ์ทิพร ประสาทไทย เดินสายเป็นครูอาสาตั้งแต่ปี 2 จนได้มาเจอครูพี่เลี้ยงท่านหนึ่งที่แนะนำให้เธอมาลองสมัครโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลง ทักทายผู้ซึ่งมีความฝันที่จะเป็นครูอยู่แล้ว จึงได้ทำความรู้จักกับโครงการตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จนตอนจบปี 4 ซึ่งประจวบเหมาะกับช่วงเวลาที่มีโควิด-19 ทักทายจึงใช้เวลา 2 ปี ระหว่างที่เศรษฐกิจและอนาคตยังไม่แน่นอน ในการหาคำตอบร่วมกับมูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ว่าความฝันของเธอที่อยากเป็นครูนั้น จะหยุดอยู่แค่การเป็นเพียงความฝันหรือไม่

ขยายเส้นขอบฟ้าของการเรียนรู้ สู่อนาคตที่กำหนดได้

?หลังจากเข้าไปคุยกับเพื่อนต่างชาติในแชท นักเรียนเริ่มเปิดใจและพยายาม เขาบอกว่าเพื่อนๆดูคุยกันสนุกมากเลย และบางคนก็เริ่มพูดว่าภาษาไม่ใช่กำแพง เขาได้มองภาษาในมุมใหม่ สร้างเพื่อนใหม่ สังคมใหม่? ครูเดีย - ธีรนันท์ ธีรเสนี ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงของ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ รุ่น 8 ได้สอนภาษาอังกฤษอยู่ที่โรงเรียนศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรีมา 1 ปีกว่า ในวันที่เธอใกล้จะจบจากการทำหน้าที่สอนในโรงเรียน 2 ปี เธอนึกย้อนไป และแบ่งปันคำจำกัดความประสบการณ์ใน ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ไว้ด้วยประโยคสั้นๆ

ครูผู้นำนักฟังที่พร้อมจะยืนเคียงข้างนักเรียนโดยไม่ด่วนตัดสิน

ในช่วงปีสุดท้ายที่คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น ฝ้าย-ชนันญา น้อยสันเทียะ ได้ไปฝึกงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณครู แต่หลังจากลองฝึกงานได้สักพัก ฝ้ายรู้สึกว่าก่อนที่จะไปพัฒนาครูนั้น ฝ้ายต้องเข้าใจก่อนว่าวันๆคุณครูทำอะไรกันบ้าง แล้วนักเรียนเป็นอย่างไรอยู่แล้วบ้าง ประจวบเหมาะกับการที่ได้ฟังข้อมูลโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลงจากศิษย์เก่าโครงการ ฝ้ายจึงรู้สึกว่าโครงการนี้ตอบโจทย์ ฝ้ายจึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการของมูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ในฐานะครูผู้นำรุ่นที่ 8

รับฟังจากใจจริง เพื่อชุบชีวิตเป้าหมายในตัวนักเรียน

?อาจารย์ ผมยังไม่อยากออกจากโรงเรียนตอนนี้ ผมยังอยากสนุกกับเพื่อนๆ และอยากเรียนอยู่ ถ้าผมออกจากโรงเรียนผมก็จะไม่มีใครคุยด้วย ไม่มีใครเล่นด้วย? เสียงสะท้อนจากนักเรียนคนหนึ่งที่มีเรื่องชกต่อยกับเพื่อน ดังเข้าหูครูกิ่ง ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงของ Teach For Thailand ที่สอนภาษาอังกฤษอยู่ที่โรงเรียนหนองใหญ่ศิริวรวาทวิทยา* จังหวัดชลบุรี นักเรียนคนนี้เข้าห้องปกครองเพราะเรื่องชกต่อยอยู่บ่อยครั้ง แต่แม้ใครๆจะเห็นว่าเด็กคนนี้เกเร เมื่อครูกิ่งมองไปที่เขา เธอกลับเห็นเด็กที่ขาดความใส่ใจจากเพื่อน ครู และผู้ปกครอง

ครูผู้นำที่อยากสร้างการเปลี่ยนแปลงมากกว่าแค่ในห้องเรียน

พร-ภัทรานิษฐ์ ฤทธิแสง ใช้เวลาเพียง 3 ปีครึ่งในรั้วมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก่อนที่จะได้รับปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์มาครอบครอง ด้วยความที่เรียนจบเร็วกว่าคนอื่น พรจึงได้มีโอกาสได้ไปลองทำงานบริษัท แต่ไม่นาน พรก็ค้นพบว่าโลกในมหาวิทยาลัยกับโลกในการทำงานนั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

คุณค่าของ ?ประสบการณ์? จากโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลง

ในช่วงปี 4 ก่อนที่จะเรียนจบ ก้านตองได้มีโอกาสไปสอนพิเศษให้กับน้อง ๆ แถวบ้านที่จังหวัดนครปฐม จากความตั้งใจแรกที่เพียงอยากไปลองหาประสบการณ์ ก้านตองกลับชื่นชอบการสอนอย่างจริงจัง จึงเริ่มต้นหาช่องทางที่จะเป็นครู ประกอบกับที่ก้านตองเองเป็นคนที่ชอบทำกิจกรรมจิตอาสามาก ๆ ทำให้ได้เคยไปออกค่ายอาสาต่าง ๆ จึงได้เห็นความเหลื่อมล้ำทางด้านการศึกษาของสังคมไทยที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น นี้เป็นอีกหนึ่งแรงผลักดันที่ทำให้อยากลองมาเป็นครู เพื่อที่จะหาช่องทางในการช่วยพัฒนาสังคมไทยและชุมชนของตนเอง จนได้มาพบกับโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลงของมูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ที่เปิดโอกาสให้เด็กคณะวิทย์อย่างก้านตองได้มาลองสนามจริงผ่านบทบาท ?ครู? เป็นเวลาเต็ม ๆ ถึง 2 ปี

?การก้าวออกจาก Comfort zone สู่ การเดินทางแห่งการพัฒนา”

ชนิษฐ์ภัค ภูมิสูง (ไอเซ็น) นักศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์ เอกชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในช่วงมหาวิทยาลัย ไอเซ็นใช้เวลาส่วนหนึ่งในการสอนและพัฒนาศักยภาพนักเรียนผ่านการสอนพิเศษ ไอเซ็นมองว่าสเน่ห์ของการสอนคือการที่ได้ถ่ายทอดความรู้ หรือทริคในการเข้าใจเนื้อหาต่าง ๆ และทำให้เขาไปถึงเป้าหมายที่พวกเขาตั้งไว้ ถ้าย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นของเส้นทางการเปลี่ยนแปลง เรามองว่าการศึกษาคือรากฐานของการพัฒนาประเทศ ซึ่งการศึกษาไทยยังมีหนทางอีกยาวไกลในการพัฒนา เราเลยอยากเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการศึกษาไทยให้ไปได้ไกลกว่านี้ รวมถึงอยากใช้โอกาสนี้ในการเสริมสร้างทักษะและประสบการณ์ให้เด็ก ๆ ในโรงเรียนขยายโอกาสอีกด้วย